++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

24 - 27 มิถุนายน 'คณะราษฎร' กับ ในหลวงร. 7 ความงามของการเปลี่ยนแปลง

24 - 27 มิถุนายน 'คณะราษฎร' กับ ในหลวงร. 7 ความงามของการเปลี่ยนแปลง
โดย คำนูณ สิทธิสมาน


ไม่ว่าระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กับคณะราษฎร
ฝ่ายใดจะคิดเรื่องเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองขึ้นมาก่อน
และไม่ว่าการปฏิวัติเมื่อย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475
จะเป็นความใจร้อนหรือการชิงสุกก่อนห่ามตามที่ผู้หยิบยกมาโจมตีคณะราษฎรหรือ
ไม่ก็ตาม ผมมีมุมมองว่า ณ ห้วงเวลาระหว่างวันที่ 24 - 27 มิถุนายน 2475
เป็น...

การปฏิวัติที่งดงาม

การปฏิวัติที่มีวัฒนธรรม

เป็นความงดงามและวัฒนธรรมที่เกิดจากทั้งพระราชปณิธานและปณิธานของทั้ง
2 ฝ่ายโดยแท้

ห้วงเวลา 3 วันหลังการปฏิวัติครั้งนั้น หากพิจารณาจาก
"พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475"
ซึ่งนอกจากจะถือเป็น รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของประเทศไทยแล้ว
ยังเป็นการแสดงลักษณะเฉพาะของการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475
ที่ดำเนินไปด้วยความยินยอมพร้อมใจและความเคารพนับถือต่อกันของผู้ปฏิวัติและ
พระองค์ผู้ถูกปฏิวัติ

ถือเป็นความต่อเนื่องทางนิติศาสตร์ระหว่าง 2 ระบอบการเมืองที่แตกต่างกัน

สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยก็คือเป็นพระบรมราชโองการ !

ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงลงพระปรมาภิไธยด้วยพระองค์เอง
โดยไม่มีบุคคลใดในคณะราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

ความหมายก็คือ คณะราษฎร ณ ห้วงเวลา 3
วันหลังการปฏิวัติยังคงยอมรับในความเป็น "องค์อธิปัตย์"
ของในหลวงรัชกาลที่ 7

แต่ครั้นเมื่อธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราวมีผลใช้บังคับแล้ว
ฐานภาพของระบอบการเมืองในประเทศไทยจึงแปรเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิ
ราชย์ไปเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญทันที
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในระบอบการเมืองใหม่จึงต้องมีผู้มีอำนาจ
หน้าที่เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
บทบัญญัติในธรรมนูญการปกครองมาตรา 7 จึงกำหนดให้ "กรรมการราษฎร"
ผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

ตั้งแต่นั้นมา บรรดาพระราชบัญญัติและพระบรมราชโองการต่าง ๆ
ตลอดจนรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 จึงมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จึงกล่าวได้ว่า...

การเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มา
เป็น ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นเป็นการโอนถ่ายอำนาจรัฐาธิปัตย์จาก
พระมหากษัตริย์ให้แก่ประชาชนโดยผลของรัฐธรรมนูญ
ซึ่งพระมหากษัตริย์ได้ทรงตราขึ้นโดยพระราชอำนาจของพระองค์เอง

คณะราษฎรไม่ได้อ้างว่าตนเป็นรัฐาธิปัตย์ !

เพราะถ้าอ้างเช่นนั้นก็ต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญเอง
โดยไม่ต้องขอพระราชทานจากพระมหากษัตริย์
ตามทฤษฎีพื้นฐานทั่วไปทางรัฐศาสตร์ที่ว่า
รัฐาธิปัตย์จะออกกฎหมายหรือไม่ออกกฎหมายใดก็ได้
ไม่มีอำนาจใดอยู่เหนืออำนาจของรัฐาธิปัตย์

คณะราษฎรขอพระราชทานรัฐธรรมนูญจากพระมหากษัตริย์
ดังคำปรารภของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว
พุทธศักราช 2475 ว่า

" โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม
เพื่อบ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น และโดยที่ทรงยอมรับตามคำขอร้องของคณะราษฎร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยมาตราต่อไปนี้."

นี่คือความต่อเนื่องของ 2 ระบอบที่งดงามยิ่ง

ยิ่งกว่านั้น
คณะราษฎรยังได้ขอพระราชทานพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมให้ตนเองจากในหลวงรัชกาลที่
7 อีกต่างหาก

ทั้ง ๆ ที่ตามทฤษฎีแล้วรัฐาธิปัตย์ไม่มีทางทำผิดกฎหมายได้

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น 2 วันหลังการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 26
มิถุนายน 2475 โดยคณะผู้ก่อการส่วนใหญ่ขอเข้าเฝ้าในหลวงรัชกาลที่ 7
ที่วังศุโขทัย กราบบังคมทูลถึงเหตุผลในการปฏิวัติ
พระองค์ทรงพระราชทานอภัยโดยตราเป็นกฎหมายใช้ชื่อเป็นพระราชกำหนด

ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงลงพระปรมาภิไธยโดยไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

เพราะขณะนั้นยังเป็นเวลา 1 วันก่อนวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ
บุคคลใดในคณะราษฎรจึงไม่มีอำนาจและฐานะที่จะลงนามรับสนองพระบรมราชโองการได้
ทั้งนี้ตามทฤษฎีที่คณะราษฎรยึดถือ

คณะราษฎรไม่เคยใช้อำนาจนิติบัญญัติในการออกกฎหมายในรูปของประกาศคณะปฏิวัติและ/หรือคำสั่งคณะปฏิวัติเลยแม้แต่ฉบับเดียว
!

การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 แม้จะมีความหมายเป็น "การปฏิวัติ"
ในทางรัฐศาสตร์ แต่ในมุมมองของทางนิติศาสตร์ถือว่า
เป็นความต่อเนื่องของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้
รัฐธรรมนูญ

ความต่อเนื่องอันเป็นความงดงามและเป็นวัฒนธรรมนี้
ดำเนินมาจนถึงการรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490
ที่คณะรัฐประหารตั้งตนเป็นรัฐาธิปัตย์เสียเอง

จุดเริ่มต้นของ "วงจรอุบาทว์"
และความอัปลักษณ์ตลอดจนลักษณะอนารยะอยู่ตรงนั้น

น่าเสียดายว่าขณะนั้นคณะราษฎรแตกแยกกันเอง
และผู้ได้รับประโยชน์จากการรัฐประหารครั้งนั้นก็คือหนึ่งในคณะผู้ก่อการของคณะราษฎรเอง

ก่อนจะมาวิบัติไปจนหมดเชื้อสายคณะราษฎรในปี 2500

ผมเคยแจกแจงเรื่องเหล่านี้มาหลายครั้งเมื่อหลายปีที่ผ่านมาในฐานะคน
รุ่นปัจจุบันที่ขอระลึกถึงความงดงามและความมีวัฒนธรรมในการใช้อำนาจ

ด้านหนึ่ง
พยายามคืนความชอบธรรมทางประวัติศาสตร์ให้กับคณะราษฎรที่ถูกให้ร้ายป้ายสีมาโดยตลอดตั้งแต่ปี
2490 เป็นต้นมา

อีกด้านหนึ่ง
ก็เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระราชปณิธานอันสูงส่งในองค์พระบาท
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย เพราะถ้าไม่มีพระองค์ท่านเสียแล้ว
การปฏิวัติจะไม่มีทางสำเร็จสมบูรณ์โดยไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อ

ด้านหนึ่งพระองค์ทรง "ถูกปฏิวัติ" แต่อีกด้านหนึ่งพระองค์ก็ทรง
"ร่วมปฏิวัติ" ด้วย
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000069863


นับแต่วันที่คณะราษฎร์ได้ปฎิวัติ วันนั้นคือวันล้ม สมบูรณาญาสิทธิราช
เรียบร้อย โดยที่นับแต่ 24 มิย 2475 นั้นถึง2552นี้
การเมืองไทยมีความสาระเลวลง
ควบคู่กับนักการเมืองชั้นต่ำที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
อยากรู้เหมือนกันว่าบรรดาคณะราษฏร์นั้นหากยังมีชีวิตอยู่ถึงตอนนี้จะรู้สึก
อย่างไร แต่สิ่งที่เราเห็นได้คือเขาเหล่านั้นมีวาระสุดท้ายไม่สวยงามเลย
ต้องย้ำว่าไม่ใช่คนเหล่านั้นเป็นคนไม่ดี
เพราะหลายคนเป็นคนดีมากแต่เป็นเรื่องต้องแยกออกจากการกระทำ
โดยส่วนตัวหมูบินอยากใช้คำพูดว่า พวกเจตนาดีแต่ประสงค์ร้าย
ที่พูดเช่นนี้เพราะมันมีข้อขัดแย้งกับที่คุณคำนูนเขียนว่า
"เป็นการแสดงลักษณะเฉพาะของการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475
ที่ดำเนินไปด้วยความยินยอมพร้อมใจและความเคารพนับถือต่อกันของผู้ปฏิวัติและ
พระองค์ผู้ถูกปฏิวัติ"
ในข้อเท็จจริงเป็นที่ทราบของหลายคนที่อยู่ในเหตุการณ์เช่นวันไปทูลเชิญกลับ
วัง นั้นถามว่าจริงหรือไม่ที่
เรือรบหันปืนเขาใส่วังโดยอ้างว่าเพื่อความปลอดภัย หรือ
ในระหว่างทางเสด็จกลับวังในกรุงเทพ
มันตัวไหนที่สั่งตั้งทหารที่หันปากกระบอกปืนตามรายทางที่รถเสด็จผ่าน
(ข้อความนี้ได้รับทราบจากผู้ใหญ่ในเหตุการณ์ท่านเล่าให้ฟังก่อนจะเสียชีวิต)
ใครที่ไหนมันพยายามทำร้ายจิตใจด้วยการพยายามตัดงบต่างๆของพระองค์ท่านเพื่อ
บีบลดพระราชอำนาจแต่กับพวกตัวเองก็ละเลงกันเต็มที่ นี่แค่เรื่องเล็กๆ

หาก ได้มีโอกาสอ่านพระราชสารที่ทรงสละสมบัติฉบับเต็มก็คงจะได้รับรู้ถึงความเสีย
พระทัยขององค์ ร. 7
แล้วไอ้ชาติชั่วคนไหนหลังจากที่พระองค์สละราชบันลังกืมันสั่งยึดทรัพย์สิน
ของท่านไป นี่นะหรือความสวยงาม
ถามว่าตั้งแต่ปฏิวัติมาประชาชนได้มีความสุขมากขึ้นไหม
มีแต่ขี้คลอกเต็มบ้านเต็มเมือง แล้วนี่มันมาจากผลพวงคณะราษฏรหรือไม่ ?
คณะราษฏรก็ไม่สามารถข้ามพ้นผลประโยชน์ได้ไม่ใช่หรือ
แถมคิดอาจทำการเปลี่ยนแปลงทั้งๆที่ความเข้าใจของประชาชนสมัยนั้นถ้าเทียบกับ
คณะราษฏรนั้นราวฟ้ากับหลุมดำในอวกาศ
แค่คณะคนที่ไปเรียนฝรั่งเศสด้วยทุนหลวงเกิดผิดใจกับเจ้าบางองค์ที่ดูแล
เรื่องเงินเดือนค่าใช้จ่ายตนเองแล้วเกิดความไม่พอใจซึ่งต่อมานำไปสู่การก่อ
ตั้งคณะราษฏรขึ้นมา มันมาจากจุดนี้หรือเปล่า
ไอ้ที่จะมีอุดมการณ์เลอเลิศก็คงเป็นอาจารย์ปรีดี
หรือว่าท่านก็ไม่ต่างจากคนอื่น เนรคุณไหมไม่รู้
อาจารย์ปรีดีเป็นคนฉลาดเก่งสารพัด
แต่ก็เลือกใช้วิธีปฏิวัติซึ่งเป็นทางที่จะคว่ำฟ้าพลิกดินได้อาจรวดเร็ว
แต่คณะราษกรไม่กล้าโค่นสถาบันอย่างเด็ดขาดในทันทีก็เพราะว่ารู้ดีอยู่แก่ใจ
ว่าประชาชนส่วนใหญ่เคารพรักกษัตริย์ไม่ว่าสถาบันจะถูกกล่าวหาอย่างไร
หากหักโค่นกับกาตริย์มากเท่าไรราษฏรก็จะต่อต้านมากเท่านั้น หรือไม่จริง
ผู้อภิวัฒน์จะเรียกสวยหรูอะไร ก็คือคณะปฏิวัติ เหมือนกัน
อย่าดัดจริตเลือกสรรคำเลย เอาเป็นว่ามีตำแหน่งลาภยศทุกคน
สามารถใช้ความสามารถตำแหน่งค่อยนำประเทศเปลี่ยนแปลงโดยการให้ความรู้
ป่านนี้ประเทศไทยคงไม่มีราษฏรที่ไร้สมรรถภาพขนาดแยกว่าอะไรจริงหรือเท็จ
หรือ แยกไม่ออกว่าอะไรถูกหรือผิด

อีกประเด็นที่คัดค้านว่าเขาไม่ได้ เคารพองค์ ร. 7
อย่างที่คุณคำนูนว่าก็คือ คำประกาศคณะราษฏรฉบับที่1
อ่านแล้วไม่สะท้อนใจบ้างหรือ ทั้งรุนแรง กล่าวหาอย่างนั้น
แล้วยังเก็บท่านไว้ใต้รัฐธรรมนูญเหรอพระองค์ท่านอาจไม่โกรธ แต่หมูบินโกรธ

สิ่ง ที่เกิดขึ้นคงทำให้องค์ ร.7
เสียพระทัยมากอยู่เหมือนกันที่คนที่รับใช้ท่านที่ท่านทรงไว้วางใจให้สอดส่อง
เพราะพระองค์ท่านเองก็ทรงทราบบ้างว่ามีคนคิดอะไรอยู่
แต่ที่เศร้าก็คือคนที่ท่านให้สอดส่องก็คือคนที่ร่วมอยู่ในคณะราษฏร์
ความล้าหลังของเราก็คงเหมือนประวัติศาสตร์ที่เราเสียกรุงบ่อยๆคือเนรคุณผู้
มีพระคุณเสมอ แถมชอบคิดว่าความคิดตนเลอเลิศ
แค่เรียนในประเทศที่มันฆ่ากษัตริย์ตัวแล้วคิดอ่านเปลี่ยนแปลงประเทศตนเอง
เอาวัฒนธรรมชาติอื่นมาใช้ อภิวัฒน์เหรอ นี่ก็แค่คำบิดเบือน
เพราะถ้าอภิวัฒน์แล้วได้แค่นี้ อย่าทำให้เสียแรงดีกว่า
อย่าพยายามทำให้สังคมไทยตอแหลเลย ความดีอาจารย์มีมาก ในแง่รักชาติ
แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างที่ทำด้วยความรักชาติจะผันแปรเป็นถูกต้องตาม
ครองธรรมนี่
หมูบิน
---
น่าจะกลับไปอ่านความรู้สึกขององค์รัชกาลที่ 7 ใหม่นะครับ
ว่าท่านทรงรู้สึกอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น

ไม่ต้องถึงขนาดอ่านตรง อ่านอ้อมจากหนังสือ "เกิดวังปารุสก์"
ของพระองค์จุลฯก็ได้ และหนังสืออีกหลายเล่มที่ยืนยันได้เป็นอย่างดี
ว่าองค์รัชกาลที่ 7
ทรงเสียพระทัยขนาดไหนที่การเปลี่ยนแปลงมาเมื่อประชาชนยังไม่พร้อม
พระองค์ทรงยอมเพราะไม่ต้องการเสียเลือดเนื้อ
เพราะถ้าพระองค์ไม่ยอม
มีทหารที่จงรักภักดีต่อพระองค์ทั่วประเทศพร้อมจะลุกขึ้นสู้
เพียงแต่พระองค์ทรงขอเอาไว้เพื่อให้เกิดความสงบ
ไม่มีความสวยงามในการเปลี่ยนแปลงนี้เลยครับ มีแต่ความขมขื่นและดำมืด
และมันเป็นจุดเริ่มต้นของความแหลกเหลวของการปกครอง

เอาแค่เหตุการณ์ที่ทุกคนที่อ่านประวัติศาสตร์ยังพอจำได้
ที่คณะราษฎร์หลอกทหารให้มายืนหน้าพระที่นั่งเพื่อบอกว่าเข้าข้างพวกตน
ทั้งที่ทหารพวกนั้นไม่รู้อะไรเลย
แค่นี้ก็บอกความจริงใจของคณะราษฎร์ได้แค่ไหนแล้ว
พระองค์ท่านก็ทรงทราบครับ แต่ท่านไม่ตรัสอะไร

ถ้าจะมีความงามอย่างเดียวในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ก็คือ
น้ำพระทัยที่เห็นแก่ชาติบ้านเมือง
ที่ทรงยอมเพื่อไม่ให้เกิดการนองเลือดขึ้น

ทั้งที่การเปลี่ยนแปลงนี้
ไม่ใช่ความปรารถนาของพระองค์และความเป็นจริงก็ไม่ควรเกิดขึ้นด้วยซ้ำ...
คนติดตามการเมืองคนหนึ่ง++

---------------------------------
เปิดโลกกับประชุม สุริยามาศ
..พบกับข้อมูลความจริง ในเรื่องของแหล่งน้ำในภาคอีสาน ที่หาอ่านได้ยาก
กับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในชนบท
และแนวคิดการบริหารจัดการแหล่งน้ำที่น่าสนใจ
แต่ถูกมองข้ามจากผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง

พบกับความจริงของสังคมไทยได้ที่
http://msuriyamas.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น