++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ธรรมะโอสถ 7 ขนาน

โรคกายไม่เท่าไหร่ โรคใจหนักกว่า

ความเจ็บป่วยไม่ว่าทางกายหรือทางใจเมื่อเกิดขึ้นทำให้เป็นทุกข์
เพราะเป็นทุกข์ประจำสังขาร

วิธีแก้ทุกข์ยามเจ็บป่วย พระเดชพระคุณ พระธรรมกิตติวงศ์ ท่านแนะนำว่า

" ให้ตัดความทุกข์ที่ไม่จำเป็นลงเสียบ้าง " คือ
บางครั้งตัวทุกข์มันมีอย่างเดียว แต่คนก็ไปเพิ่มทุกข์

ที่ไม่จำเป็นอีกมากมาย ทำให้ทุกข์เพิ่มขึ้น เช่น เจ็บป่วยขึ้นมา
ทุกข์ตัวจริง ๆ คือ ป่วย แต่บางคนก็

เลยเถิด ป่วยก็ป่วย ยังคิดต่อไปว่า หมอไม่เอาใจใส่ ยาไม่ดีทำให้หายช้า
พยาบาลไม่ดูแล ลูกผัว

เพื่อนฝูงไม่มาเยี่ยม คิดเรื่อยเปื่อย ?

ความจริง....ทุกข์มันมีอยู่อย่างเดียว คือ ป่วย นอกนั้นเป็น "ทุกข์นอกรายการ"

ที่เจ้าตัวเชิญมาทั้งนั้น เป็นทุกข์โดยไม่จำเป็นเลย ทุกข์ประเภทหลังนี้
หมอก็รักษาไม่ได้

เจ้าตัวต้องจัดการเชิญออกไปเอง....

โรค เมื่อแยกโดยประเภทแล้วมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่

โรคทางกาย คือ ความเจ็บป่วยต่้าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกกายเรา

โรคทางใจ คือ อาการที่จิตใจเกิดความแปรปรวนไปตามอำนาจกิเลส

มีคำกล่าวว่า

" คนที่ไม่มีโรคทางกายตั้งแต่มีอายุ 1 ปี จนถึงเกิน 100 ปี ยังพอหาได้ แต่คนที่

ไม่มีโรคทางใจ แม้เพียงครู่เดียวหาได้ยาก เว้นแต่ท่านผู้หมดกิเลส คือ พระอรหันต์ "

การเจ็บป่วยบางอย่าง อาจป้องกันและรักษาให้หายได้ด้วยยา
แต่อาการป่วยบางอย่างก็

มีสาเหตุจากกรรมเก่า ซึ่งไม่อาจป้องกันหรือรักษาได้ด้วยยาอย่างเดียว
ต้องอาศัยการรักษาทางใจ

ด้วยการสวดมนต์ไหว้พระ และการทำสมาธิภาวนา เข้าช่วยอีกทางหนึ่งด้วย

สมาธิ + ภาวนา คืออะไร

สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต

ภาวนา แปลว่า การเจริญ การอบรม

รวมความแล้วจึงหมายถึง การเจริญหรืออบรมจิตให้มีความมั่นคงหนักแน่น

สวดมนต์รักษาโรคได้จริง พระพรหมคุณาภรณ์ ท่านแนะนำไว้ว่า

" เป็นธรรมดาว่า กายกับใจนั้นเป็นสิ่งที่อาศัยกันและกัน
พอกายเจ็บป่วยไม่สบายคนทั่วไป

ก็มักจะพาลจิตใจไม่สบาย เศร้าหมอง กระวนกระวาย กระสับกระส่ายไปด้วย และในทำนอง

เดียวกัน เมื่อจิตใจไม่สบายก็พลอยให้กายไม่สบายไปด้วย
เริ่มต้นตั้งแต่รับประทานอาหารไม่ได้

ร่างกายเศร้าหมอง ผิวพรรณซูบซีด เป็นสิ่งที่เนื่องอาศัยกัน
ในทางตรงกันข้าม คือ ในทางที่ดี

ถ้าจิตใจดีสบาย บางทีก็กลับมาช่วยกาย เช่นในยามเจ็บป่วย ถ้าจิตใจสบาย
เช่น มีกำลังใจ

หรือจิตใจผ่องใสเบิกบาน โรคที่เป็นมากก็กลายเป็นน้อย หรือที่จะหายยากก็หายง่ายขึ้น

ยิ่งถ้าหากว่ากำลังใจที่ดีนั้นมีมากถึงระดับหนึ่ง
ก็ไม่เพียงแต่ให้โรคบรรเทาเท่านั้น แต่อาจ

จะช่วยรักษาโรคไปด้วยเลย
ทั้งนี้ก็อยู่ที่ว่าจะช่วยทำใจของเราหรือรักษาใจของเราได้มาก

แค่ไหน "

นอกจากนั้น การใช้ธรรมโอสถรักษาโรคทางใจ พระเดชพระคุณ พระโพธิญาณเถร หรือ

ที่เรารู้จักกันดีในนาม หลวงปู่ชา สุภัทโท ท่านได้เมตตาแนะนำไว้ว่า

" พวกแพทย์พวกหมอเขาปรุงยา ปราบโรคทางกาย จะเรียกว่า สรีรโอสถ ก็ได้

ส่วนธรรมของพระพุทธเจ้านั้นใช้ปราบโรคทางใจ เรียกว่า ธรรมโอสถ.....

โรคทางใจเป็นได้ไวและเป็นได้ทุกคนไม่เว้นเลย เมื่อท่านรู้ว่าเป็นไข้ใจ

จะไม่ใช้ธรรมโอสถรักษาบ้างดอกหรือ "

สวดมนต์เสมือนสมุนไพร แต่...ใช้รักษาโรคได้ยอดเยี่ยมกว่า เพราะ.....

สมุนไพร เป็นอาหารและยา มีประโยชน์โดยตรงแก่ร่างกายของคน-สัตว์

สวดมนต์ เป็นธรรมโอสถ คือ ยาและอาหารเลี้ยงใจสำหรับคนเท่านั้น

สมุนไพร หากเรารู้ถึงขบวนปฏิกิริยาทางเคมีอินทรีย์ของสมุนไพรที่มีผลต่อ

การรักษาโรค ทำให้เราเชื่อมั่นในสรรพคุณสมุนไพรนั้นมากขึ้น

สวดมนต์ แม้เราสวดภาษาบาลีหรือภาษาอะไรก็ตามโดยไม่รู้ความหมายใช่ว่าจะไร้ผล

แต่ทำให้เรามีจิตใจที่สงบเย็นขึ้นมาได้ หรือ
ถ้าสวดโดยรู้ความหมายสาระ

สำคัญของบทที่สวดจากคำแปลที่ทำไว้แล้ว
ยิ่งทำให้เราเกิดศรัทธาเชื่อมั่น

ในบทสวดมากขึ้น ส่งผลให้ได้รับอานิสงค์จากการสวดมนต์ถึง 2 ด้าน

พร้อม ๆ กัน คือ ความสงบของจิตใจ และแสงสว่างทางปัญญา สามารถ

นำหลักธรรมในบทสวดไปปฏิบัติตามได้

รู้เช่นนี้แล้วขอให้ท่านมีศรัทธา วิริยะ ความเพียร สวดมนต์ทำปัญญา ความรู้แจ้ง

ศึกษาธรรมให้เกิดต่อไปเถิด

7 ขั้นทะลุเป้าหมายหายป่วย ด้วยโพชฌงค์

1. จงมีสติ คือ ระลึกนึกขึ้นได้ถึงกิจและสิ่งทั้งหลายที่จำเป็นมีประโยชน์ต่อการรักษาตน

2. จงมีธัมมวิจยะ คือ วิเคราะห์และคัดสรรกิจ สิ่งต่าง ฟ ที่สติระลึกได้
เช่น สิ่งที่คิด,

ลักษณะอาการป่วย, อาหาร, อิริยาบถที่สนับสนุนให้หายป่วยเร็วขึ้น

3. จงมีวิริยะ คือ เพียรพยายามกล้าหาญอดทนที่จะรักษาตนให้หายจากโรค

4. จงมีปิติ คือ ยินดีอิ่่มเอมเต็มใจ มีกำลังใจที่ได้ตั้งใจรักษาตน

5. จงมีปัสสัทธิ คือ สงบกาย สงบใจให้กลมกลืนกับการรักษาโรค ไม่ทุรนทุรายเกินเหตุ

6. จงมีสมาธิ คือ ตั้งใจแน่วแน่รวมพลังกายและพลังใจเพื่อใช้ในการรักษาตัว

7. จงมีอุเบกขา คือ ทำใจเฉยรอคอยได้ เพราะรู้ว่าความป่วยจะหายไปตามจังหวะเวลา

และความจริงใจในการปฏิบัติต่อการรักษาตน

อย่าลืม ! พกยาทำใจติดตัวไว้ ยามป่วยกายใจอย่าไร้สติ

ที่มา : หนังสือ โพชฌังคปริตร พุทธฤทธิ์ พิชิตโรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น