++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

จบปัญหา "เบี้ยคนแก่" มิ.ย.นี้!...คำยืนยันที่ยังรอการพิสูจน์ (ต่อไป)?

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มิถุนายน 2552 08:07 น.
รายงานพิเศษโดย... พงศ์เมธ ล่องเซ่ง

ภายหลังจากที่ "นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายกรัฐมนตรี
กดปุ่มปล่อยเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เมื่อ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็น
"วันผู้สูงอายุแห่งชาติ ปี'52" จึงถือเป็นฤกษ์งามยามดีในการส่งเงินจำนวน
500 บาทต่อเดือน เข้าสู่กระเป๋าของผู้สูงอายุกว่า 3.5 ล้านคน

ถึงวันนี้นับได้ว่าเข้าเดือนที่ 2
ของการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแล้ว
แต่เสียงร้องเรียนถึงปัญหาการจ่ายเบี้ยยังชีพก็ยังไม่จบสิ้น
ส่วนหนึ่งเงินยังไม่ถึงมือ บางส่วนชื่อตกหล่นทำให้ไม่ได้รับ
บางพื้นที่งบจากส่วนกลางยังลงไปถึง หรือในบางที่งบลงไปถึงแล้ว
แต่ชาวบ้านกลับไม่ได้เงิน
และอีกมากมายจนดูเหมือนว่านโยบายนี้จะไม่ได้ตอบโจทย์ในการช่วยเหลือประชาชน
อย่างจริงจังเสียที
กลับกลายเป็นว่าต้องปล่อยให้ผู้สูงอายุนั่งรอเก้อไปวันๆ...

จากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น "ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา"
คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ.มองว่า เกิดขึ้นจากหลายส่วนด้วยกัน
ทั้งการจัดการทะเบียนรายชื่อที่ไม่สมบูรณ์
ส่วนหนึ่งมาจากระบบฐานข้อมูลจัดเก็บที่มีปัญหา
ส่งผลให้ผู้ที่ทำหน้าที่จ่ายเงินซึ่งหมายถึง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.) องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ไม่กล้าจ่ายเงินนี้ออกไป
จนกว่าจะมีข้อมูลและจำนวนที่ชัดเจนถึงจะสามารถจ่ายออกไปได้
อีกปัญหาหนึ่งน่าจะอยู่ที่การดำเนินการเรื่องโอนเงินไปตามพื้นที่ต่างๆ
ผ่านทางระบบ GF MIS ซึ่งเป็นระบบที่ภาคราชการใช้
ความจริงแล้วเป็นระบบที่ดี รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
แต่พอใช้งานจริงกลับล่าช้า ส่งผลให้ในบางพื้นที่เกิดปัญหาเงินไปไม่ถึง
ระบบขัดข้อง จนต้องมีการจ่ายเงินผ่านทางเช็คแทน

"นอก จากปัญหาที่เกิดจากระบบแล้ว
จากข่าวที่เกิดขึ้นว่าในบางพื้นที่เงินจากส่วนกลางโอนไปถึงท้องถิ่นแล้วแต่
ไม่ถูกจ่ายออกไปให้ชาวบ้าน
ซึ่งถือเป็นความบกพร่องที่ท้องถิ่นต้องรับผิดชอบ ที่น่าตกใจคือ
หลายพื้นที่มีการกั๊กเงินไว้ เพราะใกล้ช่วงเลือกตั้งนายก
อบต.โดยนำเบี้ยยังชีพนี้เป็นส่วนหนึ่งของการหาเสียง
ถ้าเลือกก็จะได้เบี้ยยังชีพ แต่ที่ร้ายกว่านั้นอาจถึงขั้นที่บาง
อบต.นำเงินที่ได้โอนจากส่วนกลางไปหมุนใช้จ่ายส่วนอื่น
ซึ่งความจริงแล้วไม่น่าจะมีใครกล้าทำเพราะหากตรวจสอบเจอจะเป็นความผิดร้าย
แรงมาก"ดร.จิตติสะท้อนปัญหา

ด้าน "นายกิตติ สมานไทย"
ผอ.สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชนผู้ด้อยโอกาส คนพิการ
และผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ผู้ดูแลรับผิดชอบโดยตรง
ก็ให้คำยืนยันเช่นกันว่า "สำหรับผู้สูง
อายุที่ยังติดปัญหาไม่ได้รับเงินนั้นคาดว่าไม่น่าจะเกินกลางเดือนมิถุนายนจะ
ได้รับทั้งหมด หรือในบางพื้นที่อาจจะได้รับทบยอดตั้งแต่เดือน
เม.ย.-มิ.ย.เลยก็ได้"

ทั้งยังบอกอีกว่า
หากมองภาพรวมของนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้นส่วนตัวเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์
ดีมาก ในกรณีของผู้ที่ได้รับเงิน
ซึ่งจากการประเมินขณะนี้มีผู้สูงได้รับเบี้ยยังชีพแล้ว 80%
ที่ยังหลงเหลืออยู่นั้น ในที่ประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
ที่มีนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธาน ก็ได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทย
โดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งรัดไปยังท้องถิ่นทั้ง
อบต.เทศบาล ให้ดำเนินการจ่ายโดยเร็วที่สุด
ซึ่งภายหลังจากมีคำสั่งออกไปนั้นในหลายๆ ที่ก็ทยอยออกแล้ว

"สำหรับงบที่เบื้องต้นมีการดำเนินนโยบายรอบแรก 6 เดือน
และตั้งงบไว้รองรับผู้สูงอายุที่ลงทะเบียน 3 ล้านคน
แต่มีเนื่องจากมีผู้ลงทะเบียนมากถึง 3.5 ล้านคน ทำให้งบที่เตรียมไว้ไม่พอ
ซึ่งในต่างจังหวัดยกเว้นกรุงเทพฯ และ เมืองพัทยา
ส่วนกลางจะจ่ายผ่านงบก้อนในระยะะเวลา 3 เดือน(เม.ย.-มิ.ย.) ก่อน
แต่ถึงวันนี้ในการประชุมคณะกรรมการ ก็มีมติเห็นชอบในการเสนอของบเพิ่มเติม
โดยนายกรัฐมนตรี ก็รับปากว่าได้กันเงินงบกลางไว้ส่วนหนึ่งแล้ว
เพื่อเพิ่มในส่วนที่ขาด ซึ่งก็ต้องรอให้กระทรวงมหาดไทย นำเสนอของบกลางต่อ
ครม.ต่อไป ซึ่งคงใช้เวลาไม่นาน" นายกิตติ ชี้แจง

ผอ.สท.ยังบอกอีกว่า ที่ผ่านมา
เท่าที่ตนได้พูดคุยกับผู้สูงอายุที่ไม่นับข้าราชการบำนาญ
หรือได้รับเงินสงเคราะห์จากรัฐบาล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ยากจน
ลูกหลานไม่มีเงินเลี้ยงดู ดูแล หลายๆ คนภูมิใจที่ได้รับเบี้ยยังชีพ
บ้างพูดได้เต็มปากว่ามีเงินเดือนที่ได้จากรัฐบาล
ทำให้เป็นการช่วยให้ชีวิตในบั้นปลายมีความสดใสมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มธ.ยังมีข้อสะท้อนฝากไปยังรัฐบาลด้วยว่า
นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้นเป็นเหมือนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
รัฐบาลเองควรดำเนินการเรื่องระบบการดูแลผู้สูงอายุเพื่อความยั่งยืนใหม่ทั้ง
หมด เพราะจะให้แต่เบี้ยยังชีพ จ่ายเท่าไหร่ก็ไม่พอ
เนื่องจากผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกวัน แล้วลองคิดดูว่าอีก 10 ปีข้างหน้า
จะเพิ่มขึ้นแค่ไหน? แล้วรัฐบาลจะเอาเงินจากไหนมาอัดฉีดต่อไป
ที่ผ่านมารัฐบาลจะสนับสนุนในรูปแบบของเบี้ยหัวแตก คือ
เน้นในเรื่องของการรดูแลสุขภาพ อัดเงินไปตามสถานพยาบาลต่างๆ
ซึ่งควรจัดการระบบให้ดี เพื่อการดูแลที่ครอบคลุมมากขึ้น ทั้งนี้
รัฐบาลเองก็ใช่ว่าจะอัดเงินเพียงอย่างเดียว
ต้องหาแนวทางเพื่อใช้เงินอย่างเพียงพอด้วย เช่น นำโครงการต่างๆ
ไปเชื่อมโยงกับสวัสดิการชุมชน
ที่แต่ละชุมชนมีไว้สำหรับผู้สูงอายุอยู่แล้ว หากจัดการดีๆ
ก็จะใช้เงินที่น้อยลงมาก

ถึงตรงนี้ ผอ.สท.ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า
นอกจากนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแล้วนั้น
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติยังได้ศึกษาระบบบำนาญแห่งชาติ
ที่ส่งเสริมการออมตั้งแต่วัยทำงาน เพื่อประโยชน์ในบั้นปลายชีวิต
ซึ่งเป็นข้อเสนอที่สมัชชาผู้สูงอายุเสนอมา
รูปแบบเบื้องต้นอาจเป็นแนวทางคล้ายๆ กับ
กบข.โดยจะเน้นผู้ที่ไม่ได้รับราชการ ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม
โดยคณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงการคลัง
เป็นผู้ดำเนินการศึกษารายละเอียดไม่น่าจะเกิน 2-3 เดือนนี้น่าจะเสร็จ
ส่วนรายละเอียดการจัดเก็บ เช่น ให้ประชาชนออม 100 บาท
แล้วรัฐบาลจะออกให้อีกกี่บาทนั้นยังไม่ได้ข้อสรุปในตอนนี้
และยังต้องออกกฏหมายรองรับอีกเช่นกัน ตรงนี้จะใช้เวลานานพอสมควร
แต่ไม่น่าจะเกิน 2 ปีคงจะเป็นรูปเป็นร่าง
นอกจากนี้ระบบการส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุยังมีทั้งกองทุนกู้ยืมผู้สูง
อายุ โดยไม่คิดดอกเบี้ย เพื่อสนับสนุนทุนประกอบอาชีพอีกด้วย

... กับโครงการเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในระยะยาวจะเป็นอย่างไรนั้นก็คง
ต้องตามดูกันต่อไป แต่กับนโยบาย ณ ปัจจุบัน คือเรื่องเบี้ยยังชีพ 500
บาทนั้น จากคำยืนยันในการแก้ปัญหาจะช่วยให้เสียงร้องเรียนหมดไปได้หรือไม่?
ก็คงต้องพิสูจน์กัน...


http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000060979

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น