++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เสียงสะท้อนของนศ.ต่อการรับน้องมหาโหด

ถึงคราวเทศกาลรับน้องใหม่ทีไรเรียกว่าจะต้องมีเหตุครึกโครมให้สังคม
ได้ตกอกตกใจและจับตามองกันทุกครั้ง
ซึ่งไม่ว่าทางฝ่ายผู้เกี่ยวข้องจะได้ทำการปรับมาตรการการควบคุมมาแล้วหลายหน
ก็ตาม แต่เหตุการณ์การรับน้องโหดรายปีก็ยังคงเกิดขึ้นให้สื่อมวลชนได้นำเสนอกัน
เป็นว่าเล่นอีกเช่นเคย

ปีนี้ที่เป็นเหตุกรณีร้ายแรงก็ตกเป็นของรุ่นพี่เจ้าเก่าจาก
"อุเทนถวาย" หลังจากที่ปีที่แล้วก็เพิ่งเกิดเหตุจับรุ่นน้อง ทิ้งดิ่ง
ถึงเลือดคั่งในสมองเสียชีวิต
ล่าสุดปีนี้รุ่นน้องสุดทนกับพฤติกรรมรุ่นพี่อีกหน
ที่สั่งรุ่นน้องกินพริก-กินกระดาษน้ำหมึกและออกคำสั่งให้พกอาวุธ-เผาขนเพชร
และอีกหลายๆข่าวจิปาถะของรั้วมหาวิทยาลัยอื่นๆ อย่าง
เหตุการณ์อุปทานหมู่ปริศนา
ในกิจกรรมการซ้อมรับน้องใหม่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเลย เป็นต้น
ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการสะท้อนให้เห็นภาพกิจกรรมการรับน้องที่มีรูป
แบบพฤติกรรมทรมานร่างกายที่ทำให้สังคมเฝ้าจับตามองและเหมาไปว่ากิจกรรมรับ
น้องสุ่มเสี่ยงต่ออันตรายและไม่สมควรที่จะจัดกิจกรรมนี้ต่อ
ทั้งนี้เมื่อเกิดแง่ลบดังกล่าวด้านนิสิตนักศึกษาต่างสถาบันจะมีทรรศนะต่อเรื่องนี้อย่างไรบ้าง
เราลองไปดูกัน

"ตาล" ศศิลักษณ์ สถิตย์ นักศึกษาชั้นปี 4 คณะวิทยาการการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตบอกว่า รู้สึกตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เพราะทุกปีจะมีเหตุการณ์เช่นนี้ตลอดเวลา
จนทำให้รุ่นพี่และรุ่นน้องหลายสถาบันกลัวว่าจะไม่กิจกรรมรับน้องอีก

"ตาม ข่าวรับน้องเป็นประจำทุกปี และพอจะเดาออกว่า
ปีนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง บางสถาบันขึ้นชื่อว่า รับน้องรุนแรง
จนมีคำขู่ว่า ห้ามรับน้อง แต่สุดท้ายก็ตกเป็นข่าวอยู่ดี
แต่บางมหาวิทยาลัยมีเข้มงวดเรื่องการรับน้อง ใส่ใจและดูแลน้องเป็นอย่างดี
แต่กลับโดนห้ามไปด้วย

จริงๆ แล้วการกิจกรรมรับน้องทุกมหาวิทยาลัย เพียงแต่ว่า
เราจะจัดกิจกรรมอย่างไรให้สร้างสรรค์ และปลอดภัย สามารถให้น้องๆ
เลือกทำกิจกรรมได้ โดยไม่มีเงื่อนไข อย่างเช่น ผลัดกันอมลูกอม 1 เม็ด
กับเพื่อน 20คนเป็นหนู หนูก็ไม่เอาหรอก บอกได้คำเดียวว่า ขยะแขยง
ทำไมเราไม่ใช้แสดงความรัก ความสามัคคีด้วยวิธีอื่น
อย่างเช่นร้องเพลงเชียร์ ร้องเพลงมหาวิทยาลัย
บางครั้งเราไม่จำเป็นต้องอินกับบทบาทรุ่นพี่ รุ่นน้องมากก็ได้
แค่เรานับถือ ยกมือไหว้ เวลาเดินผ่านก็พอ
ซึ่งนั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวรุ่นพี่ด้วยว่า
ปฏิบัติตนให้รุ่นน้องนับถือแล้วหรือยัง"


เช่นเดียวกับ "เจน" ศิริยาพร ชัยเพ็ชร นักศึกษาชั้นปี 4
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บอกว่า
สิ่งที่สำคัญที่สุดของการรับน้อง คือ
รุ่นพี่ควรจะคำนึงถึงความเหมาะสมและถูกต้อง
อย่าห่วงแต่ความสนุกและความสะใจของตนเอง
"เรา ต้องรู้ตัวเองว่า รุ่นพี่มีสิทธิ์สั่งน้องได้แค่ไหน
และน้องมีสิทธิ์ที่จะทำตามคำสั่งรุ่นพี่ได้แค่ไหน
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือว่า รุนแรงมาก มากเสียจนไม่คิดว่า
จะมีใครทำได้ แต่ก็ดีใจน้องๆ ใจกล้า ออกมาพูดในสิ่งที่เกิดขึ้น
เพราะสังคมจะรับรู้ และหาทาง

ดังนั้นให้ถึงความรู้สึกตัวเอง ความรู้สึกของพ่อแม่ เมื่อเห็นว่า
ไม่เหมาะสมก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำตาม รู้จักปฏิเสธ หากกลัวว่า
รุ่นพี่จะเอาคืนหรือว่าโดนรุ่นพี่ว๊าก
ก็ขอให้รีบบอกอาจารย์ทันทีเพราะไม่เช่นนั้น ต่อไปก็คงไม่มีกิจกรรมรับน้อง
และไม่มีกิจกรรมสานความสัมพันธ์น้องพี่
และชีวิตมหาวิทยาลัยก็จะไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่ทุกคนคิดไว้"


สำหรับ "แจ๊กซ์" กษมา เกตุเล็ก นายกสโมสรนิสิต
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เปิดเผยความคิดเห็นถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า
การรับน้องถือว่าเทศกาลที่มีขึ้นเป็นประจำทุกปี
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถาบันนั้นๆ ว่าจะมีมาตรการรับน้องอย่างไร

" สำหรับเหตุการณ์นี้ ผมมองว่า คงจะเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อๆ
กันมาเป็นรุ่นๆ เสียมากกว่า
ซึ่งรุ่นพี่คนนี้เคยผ่านกิจกรรมรับน้องแบบนี้มาก่อน
จึงอยากให้รุ่นน้องได้สืบทอดวิธีดังกล่าว
ด้วยเหตุผลที่ต้องการสร้างความรัก
ความสามัคคีระหว่างพี่น้องเหมือนสมัยก่อน
แต่กลับไม่คำนึงถึงสภาพสังคมที่เกิดขึ้น
เพราะสมัยนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปแล้ว ทั้งตัวนักศึกษา
และผู้ปกครองต่างให้ความสนใจกับกิจกรรมรับน้องมากขึ้น ต่างตื่นตัว
และระมัดระวังอยู่ตลอด จะให้ใช้วิธีเดียวกับเมื่อก่อนคงไม่ได้
อีกทั้งอาจารย์ควรให้ความดูแลอย่างเข้มงวด อย่าใช้วิธีการขู่
หรือแค่ไล่ออก เพราะเมื่อกระทำความผิดแล้ว
ให้เป็นหน้าที่กฎหมายที่จะกระทำการดูแลผู้ผิด"

ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งกระทบต่อน้องใหม่และผู้ปกครองบางรายที่วิตกกังวล
กับกิจกรรมรับน้องในช่วงเวลานี้ โดยเฉพาะสถาบันใกล้เคียงอย่าง จุฬาฯ "ถาม
ว่าผลกระทบไหม ก็คงไม่มาก
เพียงแต่เราเข้าใจความรู้สึกของรุ่นน้องบางคนที่ยังตกใจกับเหตุการณ์ความ
รุนแรงนี้อยู่ ถึงขนาดให้ผู้ปกครองมานั่งเฝ้าและคอยดูแลอยู่ไม่ห่าง
ดังนั้นเราจึงวางมาตรการที่เข้มงวด
และทำให้รุ่นน้องและผู้ปกครองได้สบายใจว่า จุฬาฯ
จะไม่มีกิจกรรมรับน้องที่รุนแรงเช่นนั้นแน่นอน" นิสิตจุฬาฯสรุป


http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000066480

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น