++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เมื่อสื่อสายตาสั้น ... จังซี่มันต้องถอน

โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล 24 มิถุนายน 2552 13:08 น.
การประกาศหยุดงานของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ฟ.ท.
เพื่อประท้วงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552
ที่อนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)
ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนและนักธุรกิจจำนวนมากที่มีความจำเป็น
ต้องใช้บริการของการรถไฟ
โดยเฉพาะบรรดานักการเมืองในรัฐบาลที่ดูแลรัฐวิสาหกิจแห่งนี้อยู่

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ตลอดทั้งวันอังคาร (23 มิ.ย.)
เมื่อได้รับฟังพิธีกรทั้งทางหน้าปัดวิทยุ ทั้งหน้าจอโทรทัศน์ เช่น
รายการของคลื่น 92.25 ในช่วงสาย, รายการคุยโขมงบ่าย 3 โมงทางช่อง 9,
รายการทางคลื่น 101 ของคุณพิสิทธิ์ กีรติการกุล ในช่วงบ่ายแก่ๆ
รวมถึงอีกหลายรายการซึ่งออกมาวิพากษ์วิจารณ์และต่อว่าต่อขาน คุณสาวิทย์
แก้วหวาน ประธานสหภาพฯ ร.ฟ.ท. ประกอบกับที่ในช่วงเย็นสื่อต่างๆ
ก็ทยอยกันนำเสนอข่าวโจมตีสหภาพฯ ร.ฟ.ท. ทางอ้อม
ด้วยการหยิบยกผลการวิจัยของเอแบคโพลล์ที่ได้เผยผลสำรวจระบุว่า กว่า 3 ใน
4 หรือร้อยละ 75.2 ของประชาชนแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการหยุดเดินรถไฟ

...... ปฏิกิริยาต่อเรื่องดังกล่าวบนสื่อวิทยุและโทรทัศน์ข้างต้น
ทำเอาผมคิดว่า สังคมไทยจำเป็นต้องหันมาสนใจกับปัญหาของ ร.ฟ.ท.
อย่างจริงจัง

ทั้งนี้ หากเราย้อนกลับไปดูมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มิ.ย.
ในช่วงที่สังคมกำลังจับตาเรื่องอื้อฉาวของการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000
คัน ก็จะพบว่า ในวันนั้น นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี
ในฐานะประธานกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.)
ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า รัฐบาลมีมติให้
ร.ฟ.ท.ปรับโครงสร้างโดยจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมา 2 บริษัท
คือบริษัทเดินรถและบริษัทบริหารทรัพย์สินแยกจาก ร.ฟ.ท. โดยให้ ร.ฟ.ท.
ถือหุ้น 100% และให้จัดตั้งบริษัทลูกทั้ง 2 แห่ง ภายใน 30
วันนับแต่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ และให้เริ่มดำเนินการได้ภายใน 180 วัน

นอกจากนี้ รองนายกฯ ยังกล่าวถึงประเด็นสำคัญของมติ ครม.ด้วยว่า
ให้ บริษัทบริหารสินทรัพย์เป็นเพียงผู้จัดหาเอกชนเข้าพัฒนาที่ดินและบริหารสัญญา
เท่านั้น ขณะที่ให้ภาครัฐรับภาระการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
และพิจารณาในการแก้ไขภาระหนี้สิน โดยใช้รายได้ของ ร.ฟ.ท.
และบริษัทลูกที่จะหาได้ในอนาคตจ่ายคืนและดอกเบี้ยที่กระทรวงการคลังช่วย
เหลือ รวมถึงการเพิ่มบทบาทให้กับเอกชนในกิจการของ ร.ฟ.ท. พร้อมอ้างว่า
ผลที่จะได้จากการลงทุนในครั้งนี้จะทำให้ภายใน 6 ปี
จำนวนขบวนรถที่วิ่งบนรางจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว
ปริมาณในการขนส่งโดยสารเพิ่มร้อยละ 25 และการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
100 พร้อมทั้งจะมีรายได้จากการบริหารสินทรัพย์เพิ่มขึ้นประมาณ 11,000
ล้านบาท ภายในอีก 10 ปีข้างหน้า

สาเหตุที่ผมต้องทำตัวเน้นและขีดเส้นใต้คำให้สัมภาษณ์ของคุณกอร์ป
ศักดิ์ ก็เพราะว่าจริงๆ แล้ว แผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท. ที่ผ่านการอนุมัติของ กนร.
และ ครม.มาแบบฉลุยนั้นเป็นที่น่าเคลือบแคลงของสังคมเป็นอย่างยิ่ง

กล่าวคือ ภายใต้ความผุพังของราง หัวจักร และตู้โบกี้ การรถไฟฯ
ซึ่งประชาชนใช้บริการอยู่ทุกวัน มีขุมทรัพย์อันมหึมาซุกซ่อนอยู่
และบรรดานักการเมืองทุกยุคทุกสมัยต่างดูดเอาขุมทรัพย์นี้ไปหารับประทาน
บ้างหน้าด้านหน่อยก็ฮุบเอาไปเป็นของตัวเสียเลย

ขุมทรัพย์ที่ว่านี้จริงๆ แล้วก็คือ
ทรัพย์สินในรูปที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ว่ากันว่าทั่วประเทศมี
มากกว่า 230,000 ไร่ โดยเป็นที่เชิงพาณิชย์กว่า 36,000 ไร่
ซึ่งในจำนวนนี้หลายพันไร่เป็นที่ดินย่านใจกลางเมือง-ย่านธุรกิจ อย่างเช่น
ย่านถนนรัชดาภิเษก ย่านพหลโยธิน ย่านมักกะสัน ฯลฯ

ทั้งนี้ หากกล่าวถึง "ความล้ำค่าของขุมทรัพย์การรถไฟฯ"
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมรดกของชาติที่ได้รับการพระราชทานมาจากองค์พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แล้ว ตัวอย่างง่ายๆ ที่เกิดขึ้นเร็วๆ
นี้ก็คือ กรณีที่ดินย่านพหลโยธินบริเวณ สามเหลี่ยมพหลโยธิน
ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว

หากสื่อมวลชนบางส่วน สายตาไม่สั้น หรือ ความจำไม่เลอะเลือน
จนเกินไปนักคงยังพอจำได้ว่า ในปี 2550-2551 เกิดกรณีการที่บริษัท
เซ็นทรัลพัฒนา ผู้บริหารห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว
พยายามต่อสัญญาที่ดินขนาด 47.22 ไร่ ซึ่งครบกำหนดในเดือนธันวาคม 2551
ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 20 ปี ด้วยข้อเสนอเป็นค่าตอบแทนสัญญาเช่าให้แก่
ร.ฟ.ท. เป็นเงินเพียง 8,500 ล้านบาท (หรือเปรียบเทียบได้ว่า
ด้วยสภาวะธุรกิจในปัจจุบันเพียงแค่เก็บเงินค่าเช่าที่จอดรถ เซ็นทรัลฯ
ก็สามารถนำเงินมาจ่ายค่าเช่าให้ ร.ฟ.ท. ได้สบายๆ แล้ว)

ถามว่ามิใช่จากบทบาทและความเสียสละของสหภาพฯ ร.ฟ.ท. สนช.บางคน
รวมถึงสื่ออย่างเอเอสทีวี-ผู้จัดการหรอกหรือ
ที่ออกมาเปิดโปงและคัดค้านความไม่โปร่งใสของเรื่องดังกล่าวซึ่งนักการเมือง
และผู้บริหารระดับสูงของ ร.ฟ.ท.
ไปงุบงิบเจรจากับนักธุรกิจโดยไม่สนใจถึงความเสียหายต่อประเทศชาติและประชาชน
จนในที่สุด เซ็นทรัลฯ ก็ต้องยอมเพิ่มอัตราค่าตอบแทนจาก 8,500 ล้านบาท
เป็น 21,000 ล้านบาทในเวลาสัญญา 20 ปี

หรือจะกล่าวให้เห็นภาพชัดขึ้นก็คือ
การออกมาทักท้วงเรื่องดังกล่าวได้ทวงเงินคืนให้ประเทศชาติได้มากกว่า
12,000 ล้านบาท!

จะเห็นได้ชัดว่า เพียงแค่ที่ดิน 47.22 ไร่
บริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธินซึ่งเป็นทรัพย์สินของ
ร.ฟ.ท.นั้นก็สามารถสร้างรายได้เนื้อๆ
ให้กับองค์กรมากกว่าพันล้านบาทต่อปีโดยไม่ต้องลงทุนอะไร
ถามต่อว่าแล้วที่ดินเชิงพาณิชย์ในทำเลทองอีกหลายร้อย
หลายพันไร่ทั่วประเทศ จากจำนวนที่ ร.ฟ.ท.ถือครองอยู่มากกว่า 36,000
ไร่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับ ร.ฟ.ท.ได้มากแค่ไหน?

จริงอยู่ที่ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา
การที่รถไฟไทยไม่พัฒนาไปไหน แถมยังเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว
จนประชาชนส่วนใหญ่ (รวมถึงผม) เอือมระอาที่จะใช้บริการ
แต่ต้องไม่ลืมว่าปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับรถไฟไทยทุกวันนั้นก็เกิดจาก
นักการเมืองนั่นแหละ โดยอีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด ก็คือ
กรณีที่ดินบริเวณเขากระโดง
ซึ่งถูกนักการเมืองในจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งเผอิญเป็นใหญ่ในรัฐสภาและรัฐบาล
ใช้อิทธิพลฮุบเอาไว้แบบหน้าด้านๆ

เพราะฉะนั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่า หากแผนปรับโครงสร้าง ร.ฟ.ท.ที่
ครม.อนุมัติมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน
สามารถเดินหน้าต่อไปอย่างราบรื่นแล้ว
"บริษัทบริหารสินทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่จัดหาเอกชนเข้าพัฒนาที่ดิน" และ
"เอกชนที่จะเข้ามามีบทบาทในการบริหารกิจการ ร.ฟ.ท."
จะเป็นผู้กุมผลประโยชน์ไว้มากมายเพียงใด
และคนกลุ่มใดจะก้าวเข้ามามีเอี่ยวในส่วนนี้

แท้จริงแล้ว การฟื้นฟูกิจการและการปรับปรุงบริการของการรถไฟฯ
ให้มีกำไรและเป็นที่เชื่อถือของประชาชนนั้น
สามารถทำได้โดยไม่ต้องลำบากยากเย็นถึงขั้นต้อง "แปรรูป" เลย
เพียงแค่นักการเมืองหยุดโกงที่ดินรถไฟ หยุดแสวงหาผลประโยชน์จาก ร.ฟ.ท.
และ ตั้งใจจริงกับการบริหารองค์กรแห่งนี้เท่านั้นเอง

ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา ภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี
2540 ลง ผมคิดว่าประชาชนคนไทยและสังคมไทยได้เรียนรู้มากพอแล้วกับข้ออ้างของนักการ
เมืองในการ "แปรรูปรัฐวิสาหกิจ" หรือหากเลี่ยงบาลีอีกสักหน่อยก็คือ
"แผนฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจ" โดยตัวอย่างที่พวกเราเห็นได้ชัดที่สุดก็คือ กรณี
การแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การบินไทย รวมไปถึงล่าสุดอย่าง
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)

ขณะที่ประชาชนเริ่มรู้เท่าทันนักกินเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ
ในทางตรงกันข้ามดูเหมือนว่า "สื่อมวลชนไทย"
จะไม่ได้เรียนรู้หรือมีบทบาทในการสร้างความตื่นตัวเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
ให้สังคมเลย โดยในกรณีรถไฟหยุดวิ่งครั้งนี้ สื่อกลับมัวแต่หยิบแค่
"เปลือกของปัญหา" มาประโคมข่าวว่า สหภาพฯ ประท้วง
สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน โดยละเลยที่จะขุดค้นถึง "รากเหง้าของปัญหา"
และตั้งคำถามเพื่อหาทางออกว่าแท้จริงแล้วเหตุใด สหภาพฯ ร.ฟ.ท.
จึงต้องออกมาเรียกร้อง

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา
มาตรฐานของสื่อไทยส่วนใหญ่หากจะกล่าวไปก็ไม่ได้มีพัฒนาการอะไรพอๆ
กันกับรถไฟไทย เพียงทุกวันนี้พิธีกรหยิบข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์-อินเทอร์เน็ต
มาจ้อทางวิทยุและโทรทัศน์ แถมใส่อารมณ์ ความรู้สึก ความเห็นเข้าไปเสริม
โดยที่ไม่สนว่าสิ่งที่ตัวเองพูดจะมีส่วนช่วยให้สังคมไทยจะพัฒนาดีขึ้นหรือ
ไม่

คุณภาพเข้าข่าย "ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง" พอกันกับรถไฟก็ว่าได้

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000071310

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น