++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

จุฬาฯ คิดค้นชุดตรวจไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ "สะดวก แม่นยำ ราคาถูก"

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้นผลงานวิจัย
"ชุดตรวจไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009"
สามารถนำไปใช้นอกห้องปฏิบัติการได้สะดวก- มีความแม่นยำสูง
แถมราคาประหยัดเพียง350 บาทต่อตัวอย่าง ซึ่งราคาถูกกว่าเครื่อง PCR
ที่มีราคาเครื่องละ 2-3 ล้านบาท

ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์
อาจารย์ประจำห้องปฏิบัติการทรานสเจนิคเทคโนโลยีในพืชและไบโอเซ็นเซอร์
ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในคณะผู้วิจัย
"ชุดตรวจไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009" กล่าวว่า คณะวิจัยฯ
ได้ทำการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์สารพันธุกรรมบนพื้นฐานของไบโอเซ็นเซอร์มาหลาย
ปี และสะสมประสบการณ์พื้นฐานเทคนิคต่างๆ ได้ระดับหนึ่ง
ที่ผ่านมาได้ทำงานวิจัยร่วมกับ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
พัฒนาวิธีการตรวจสอบไข้หวัดนกโดยใช้หลักการทางเคมีไฟฟ้า
โดยการนำข้อมูลรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสมาสังเคราะห์ DNA
ทันทีโดยไม่รอต้องขอตัวอย่างจากต่างประเทศ
และใช้เป็นแม่แบบที่ใช้ในการพัฒนาวิธีการตรวจสอบ

"การ สร้างชุดตรวจสอบสำหรับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ดังกล่าวโดยเฉพาะและต้องสามารถนำ
ไปใช้นอกสถานที่ได้ เนื่องจากเทคนิค RT-PCR (Reverse
Transcription-Polymerase Chain Reaction) และ Real Time PCR
ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจสอบโรคที่ใช้ในปัจจุบันต้องดำเนินการในห้อง
ปฏิบัติการ ใช้บุคลากรเฉพาะทาง มีค่าใช้จ่ายที่สูง และต้องใช้เวลานาน
การทำงานของชุดตรวจไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้จะเริ่มจากการตรวจสารพันธุ
กรรมที่อยู่ในสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ
ใช้เทคนิคในการเพิ่มปริมาณให้มากขึ้น แล้วใส่สารซึ่งจะจับตัวเฉพาะกับ DNA
เพื่อแปลงระดับ DNA ออกมาเป็นสัญญาณที่ตรวจวัดได้ทางฟิสิกส์ เช่น
ดูการเรืองแสง การเปลี่ยน แปลงของกระแสไฟฟ้า ฯลฯ
ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เลือกตรวจด้วยการเรืองแสงเพราะดูด้วยตาเปล่าได้ชัดเจน
และรวดเร็ว ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 1
ชั่วโมงก็สามารถรู้ผลได้ทันทีว่าติดเชื้อหรือไม่
ชุดตรวจดังกล่าวใช้เครื่องมือน้อยมาก
ทำให้สามารถนำไปใช้นอกห้องปฏิบัติการได้และไม่จำเป็นต้องใช้บุคลากรทางการ
แพทย์ ทำให้สะดวกเมื่อมีตัวอย่างเข้ามามากๆ"

ทั้งนี้ เทคนิคการตรวจดังกล่าวจะตรวจบริเวณจำเพาะบนยีนส์ของไวรัสถึง6
บริเวณ จึงมีความแม่นยำของผลการตรวจสูงกว่าเทคนิค PCR
ซึ่งจะตรวจไข้หวัดใหญ่เพียง 2 บริเวณ ด้านความจำเพาะของผลการตรวจ
ห้องปฏิบัติการฯ ได้ทดสอบชุดตรวจกับตัวอย่างจริงของเชื้อไข้หวัดต่างๆ
ทั้งเชื้อไข้หวัดนก ไข้หวัด H1N1 ที่ไม่ใช่สายพันธุ์ 2009 ไข้หวัด H3N2
ไข้หวัดตามฤดูกาล ฯลฯ พบว่าชุดตรวจไม่มีความจำเพาะกับสายพันธุ์ใดๆ
เลยนอกจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 จากการทดสอบความไวพบว่ามีไวรัสเพียง
10 อนุภาคก็สามารถตรวจพบได้ ด้านต้นทุน
การเก็บสารคัดหลั่งมีค่าใช้จ่ายเพียง 200 บาทต่อตัวอย่าง
ชุดตรวจสอบมีราคา 150 บาทต่อชุด รวมกันเป็น 350 บาทต่อตัวอย่าง
ถือว่ามีราคาถูกกว่าเครื่อง PCR ที่มีราคาเครื่องละ 2-3 ล้านบาทมาก

"ขณะ นี้จุฬาฯ
ได้มีการหารือความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อนำชุดตรวจดังกล่าวไปใช้
งานจริงตามสถานที่ต่างๆ เช่น ท่าอากาศยาน ฯลฯ
โดยจะให้บุคลากรทางแพทย์เป็นผู้ดำเนินการเพื่อความปลอดภัย
เพราะไข้หวัดสายพันธุ์นี้ค่อนข้างมีความไวต่อการระบาดและแพร่กระจายสูง
นอกจากนี้ทางห้องปฏิบัติการฯ
ยังพร้อมจะสนับสนุนน้ำยาตรวจให้กับหน่วยงานอื่นที่ต้องการนำไปใช้ห้อง
ปฏิบัติการ โดยอยู่ในระหว่างการดำเนินการของหน่วยงานที่ดูแลด้านทรัพย์สินทางปัญญาของ
จุฬาฯ ทั้งนี้ห้องปฏิบัติการฯ ได้ผลิตชุดตรวจสำรองไว้ในระดับหนึ่งแล้ว
และพร้อมที่จะเพิ่มปริมาณให้กับหน่วยงานที่จำเป็นต้องใช้ทันที"
ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติม

สำหรับสถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าว ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์
ชี้แจงว่า ในแวดวงทางการแพทย์
ส่วนใหญ่มีความเป็นห่วงเรื่องระบาดวิทยาของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้
โดยเฉพาะการที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีความรัดกุมในการป้องกันมากกว่าไทยมากกลับ
มีการระบาดอย่างน่ากลัว
สำหรับประเทศไทยซึ่งมีทรัพยากรที่จะรองรับโรคนี้ค่อนข้างจำกัด

"สิ่ง สำคัญที่สุดคือการวางแผนป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดขึ้น
โดยรัฐบาลได้มีการทำแผนการรับมือเป็นระดับขั้นแล้ว
ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้ความรุนแรงทุเลาลงได้
จึงขอความร่วมมือจากประชาชนในการดูแลตนเอง
หากรู้ตัวว่าไม่สบายหรือสงสัยว่าจะติดเชื้อก็ควรไปพบแพทย์ทันที
และต้องป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายด้วยการใส่หน้ากากและหมั่นล้างมือเป็น
ประจำ หากทุกคนช่วยกันก็จะช่วยให้เราสามารถรอดพ้นจากการระบาดของโรคไปได้
อย่างไรก็ดี ประชาชนไม่ควรตื่นตระหนกมากเกินไป
เพราะไข้หวัดสายพันธุ์นี้แม้จะมีการแพร่ระบาดและติดเชื้อได้ไวมาก
แต่มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อมีสัดส่วนที่น้อยมาก"

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000067989

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น