++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ผู้ปกครองประมาท คือหนทางสู่ความหายนะของชาติในทุกทาง

โดย ดร.ป.เพชรอริยะ


สภาพของระบอบเผด็จการฯ พรรคการเมืองเป็นนาย ประชาชนเป็นทาส
การฉ้อราษฎร์บังหลวง จึงหนักขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีทางที่จะหยุดยั้งได้ ฯลฯ
"พรรคการเมือง และผู้ที่ได้เป็น ส. ส.
ส่วนใหญ่จึงต้องมีเล่ห์เหลี่ยมอย่างรอบด้าน"
แต่น้อยคนนักที่จะยอมรับตามความเป็นจริงว่า
"ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบเผด็จการโดยรัฐธรรมนูญ หรือเผด็จการระบบรัฐสภา"
เป็นระบอบที่ส่งเสริมความเลวร้ายให้เติบโตขึ้นๆ ในบ้านเมืองของเรา
เราได้เสนอข้อคิด สะกิดเตือนใจ อย่าได้ตกอยู่ในความประมาท
ทั้งนี้ก็ต้องเข้าใจว่า "เราต้องพัฒนาคน พัฒนาปัญญา
พัฒนาการเมืองของเราให้ดีกว่านี้"

พระพุทธเจ้า ตรัสว่า "ความไม่ประมาท
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ
ไม่อันตรธานแห่งพระสัทธรรม"

พระองค์ทรงเตือนให้ยินดีในความไม่ประมาท
ความไม่ประมาทเป็นรากแก้วแห่งความดีทั้งปวง เมื่อไม่มีความประมาทแล้ว
ความดีทั้งหลายก็ย่อมเกิดขึ้น การยินดีในความไม่ประมาท
จึงเป็นการยินดีในเรื่องสุดยอดแห่งความดี เป็นความยินดีที่ปลอดภัย
ก่อให้เกิดความสุขความเจริญ ความก้าวหน้าร่วมกันของปวงชนในชาติ

ในทางตรงกันข้ามถ้าสถาบันหลักภายในชาติ ผู้มีอำนาจ นักการเมือง
นักปกครอง นักวิชาการและประชาชนในชาติ ตั้งอยู่ในความประมาทแล้ว
ย่อมนำมาซึ่งความหายนะ ยุ่งยาก อ่อนแอ ล้าหลัง เกิดปัญหาต่างๆ
มากมายจนไม่อาจจับต้นชนปลายได้ถูก ยุ่งเหยิงไปทุกหย่อมหญ้า
จึงได้จำแนกการดำรงอยู่อย่างประมาทให้ท่านทั้งหลายได้พิจารณา
เพื่อว่าจะได้ร่วมกันสร้างสรรค์ให้เกิดความถูกต้อง ไม่ตกอยู่ในความประมาท

ความประมาทในศาสนา สถาบันพระพุทธศาสนาเป็นสถาบันผู้นำทางสัจจะ
ผู้นำทางจิตมโน วิญญาณ เป็นผู้นำทางปัญญา
และเป็นองค์ประกอบของรัฐมาแต่บรรพกาล แต่ปัจจุบันนี้ตกอยู่ในฐานะกลไกรัฐ
ถูกระบอบการเมืองมิจฉาทิฐิครอบงำ จึงตกอยู่ในสภาพยิ่งสอน
สังคมยิ่งเสื่อมทราม "คุณธรรมไม่อาจแผ่ธรรมานุภาพในอุ้งมือมารได้ฉันใด
พระพุทธศาสนา และชาวพุทธทั้งหลาย
ไม่อาจอยู่เย็นเป็นสุขได้ในระบอบปัจจุบัน"

มนุษย์ต้องมีศาสนา ต้องได้รับการเรียนรู้จากศาสนาของตน
ศาสนาต่างก็มีวันหยุด ศาสนาคริสต์มีวันหยุดตามสุริยคติคือวันอาทิตย์
ศาสนาอิสลามหยุดวันศุกร์
ส่วนพระพุทธศาสนามีองค์ประกอบของศาสนาถือตามจันทรคติ
วันหยุดของศาสนาได้แก่วันโกน (วันก่อนวันพระหนึ่งวัน)
และวันพระหรือวันธรรมสวนะ อันเป็นวันหยุดของชาวพุทธ เป็นวันฟังธรรม
แนะนำคำสั่งสอน เมื่อก่อนชาวพุทธก็จะหยุดทำการทำงานต่างๆ
ในวันโกนและวันพระชาวพุทธได้มาประชุมธรรม ศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม
อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง จึงทำให้ชาวพุทธมีความเข้มแข็งทางจิตใจ
มีความมั่นใจ มีความรู้มีปัญญาในการดำเนินชีวิต ไม่สร้างปัญหาให้กับสังคม

แต่ทุกวันนี้ไม่ทราบว่ารัฐบาลยุคไหนกำหนดวันหยุดราชการ
วันหยุดบริษัท ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ ซึ่งไม่ตรงกับวันพระ ชาวพุทธ 94
กว่าเปอร์เซ็นต์ ต้องทำงานหนัก ไม่มีเวลาไปวัดฟังธรรม ผลจากการตัดแขน
ตัดขาพระพุทธศาสนา เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิต
ความเสื่อมทรามทางจิตของคนในสังคม โดยเฉพาะเยาวชนลูกหลานชาวพุทธเหลวแหลก
เพราะไม่มีหลักยึดทางใจเพราะขาดหลักธรรมคำสอน
พ่อแม่มีปัญหาเรื่องทำมาหากิน ไม่มีเวลานำลูกหลานเข้าวัดปฏิบัติธรรม
ความเลวร้ายต่างๆ จึงทับถมชาวพุทธอย่างน่าสงสารที่สุด น่าเห็นใจที่สุด

และพระสงฆ์เองก็กลายเป็นพนักงานของรัฐไปหมดแล้ว
จึงต้องร่วมกันรณรงค์จัดตั้งสถาบันพระพุทธศาสนาอิสระจากระบอบการเมือง
มิจฉาทิฐิ "พระพุทธศาสนาอิสระย่อมพ้นภัย พิจารณาจากใจอิสระย่อมพ้นทุกข์"
และรณรงค์ให้ทางราชการหยุดวันโกนกับวันพระ
หรืออย่างน้อยก็ให้เฉพาะชาวพุทธมีวันหยุดในวันโกนและวันพระ
เราจะได้พิสูจน์ว่ารัฐบาลใหม่จริงใจต่อชาวพุทธจริงหรือไม่

ความประมาทในระบอบการเมือง
ผู้คนในแผ่นดินตกอยู่ในความเชื่ออย่างงมงายที่รัฐบาล
และนักการเมืองต่างโฆษณาชวนเชื่อว่า รัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย
จึงเสนอความเห็นแย้งว่าถ้าเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้วนั้น
จะต้องมีหลักการปกครองอันเป็นสากล คือ
หลักการระบอบประชาธิปไตย (สากล) แต่ในรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับไม่เคยมี

ผู้เขียน ได้เสนอหลักการปกครองโดยธรรม
สอดคล้องกับลักษณะพิเศษของประเทศไทยคือ หลักการปกครองแบบธรรมาธิปไตย
สัมพันธภาพด้านทั่วไปของปวงชน คือเป็นศูนย์กลาง
เป็นจุดมุ่งหมายเป็นของปวงชนในทางการเมือง
ประยุกต์เข้ากับอุดมการณ์แห่งชาติ "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" ดังนี้

ส่วนรูปแบบและวิธีการปกครองได้แก่ รัฐธรรมนูญ ระบบรัฐสภา ส.ส.
ส.ว. การเลือกตั้ง การแต่งตั้ง และการสรรหา ฯลฯ

เมื่อพระมหากษัตริย์สถาปนาหลักการปกครองโดยธรรมเสร็จสิ้นแล้ว
ประชาชนแยกแยะได้ถูกต้องระหว่างหลักการปกครองโดยธรรมหรือระบอบโดยธรรม
ต่างจากรัฐธรรมนูญ จากนั้นก็ดำเนินการปรับปรุงเมื่อรัฐธรรมนูญ หมวด
และมาตรา สอดคล้องกับหลักการปกครองโดยธรรมทั้ง 9
เพียงเท่านี้ประเทศไทยก็จะมีระบอบการเมืองการปกครองโดยธรรมเป็นของปวงชนใน
ชาติ

สมดังพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

ความประมาทของนักการเมือง
นักการเมืองไทยส่วนใหญ่ตัวเป็นไทยแต่ใจเป็นฝรั่ง
จึงต้องการเห็นนักการเมืองไทยอุทิศตนศึกษาพระธรรมคำสอน
ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อให้รู้แจ้งถึงกฎธรรมชาติ
จะได้ลดละความเห็นผิด
มาเป็นอุทิศตนเพื่อประเทศชาติเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชน
และเยาวชนของชาติ ถ้านักการเมืองเป็นแบบอย่างที่ดี ข้าราชการทั้งหลาย
และประชาชนทั้งปวงก็จะคล้อยตามไปในทางที่ดี

ความประมาทในระบบเศรษฐกิจ ในทางที่ถูกต้องสอดคล้องตามกฎธรรมชาติ
ระบอบการเมืองต้องมีลักษณะแผ่กระจายให้อำนาจอธิปไตย
และโอกาสทางการเมืองอย่างกว้างขวางที่สุด สัมพันธ์กับการปกครอง
และระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะรวมศูนย์

กฎธรรมชาติ ด้านลักษณะทั่วไป (General Law) เรียกว่า
สภาวะอสังขตธรรม (ธรรมที่บริสุทธิ์ ธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง)
มีลักษณะแผ่กระจาย โอบอุ้ม ครอบครองส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด
โดยสัมพันธ์กับลักษณะเฉพาะ (Individual Law) เรียกว่า สภาวะสังขตธรรม
(ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง) มีลักษณะรวมศูนย์
อันเป็นสัมพันธภาพระหว่างแผ่กระจายกับรวมศูนย์
จึงเป็นเหตุให้กฎธรรมชาติเกิดดุลยภาพดำรงอยู่ได้มาอย่างยาวนาน

สัมพันธภาพของการเมือง (หลักการปกครอง)
ที่ถูกต้องโดยธรรมมีลักษณะแผ่กระจาย ส่วน การปกครอง (รัฐธรรมนูญ)
มีลักษณะรวมศูนย์ จึงก่อให้เกิดดุลยภาพอย่างมั่นคง

สัมพันธภาพระหว่างการเมืองกับระบบเศรษฐกิจ
การเมืองโดยธรรมจะเป็นปัจจัยให้ระบบเศรษฐกิจกระจายทุน
ระบบเศรษฐกิจด้วยตัวของมันเองมีลักษณะรวมศูนย์ จึงก่อให้เกิดดุลยภาพ
ทั้งการเมืองและระบบเศรษฐกิจแห่งชาติตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

แต่ระบอบการเมืองไทยปัจจุบันมีลักษณะรวมศูนย์อำนาจอธิปไตยเป็นของคนส่วนน้อย
การปกครองก็รวมศูนย์ ระบบเศรษฐกิจก็รวมศูนย์ จึงเป็นปัจจัยให้เกิด
การรวมศูนย์ทรัพย์สมบัติของชาติตกอยู่ในมือของคนร่ำรวยเพียงหยิบมือเดียว
ความแตกต่างของคนร่ำรวยกับคนจนอันกว้างใหญ่ไพศาล และขยายห่างออกไปๆ ทุกที
สภาพการณ์เช่นนี้ทำให้ประชาชนศักดิ์ศรีน้อยลง กลายเป็นบ่าวทางการเมือง
เมื่อประชาชนตกเป็นบ่าวและอยากจน ก็จะมีแต่ความต้องการเฉพาะหน้าคือเงิน
เงิน และเงิน ไม่สนใจในเรื่องคุณธรรม การซื้อเสียงกลายเป็นบุญคุณ
การซื้อเสียงในการเลือกตั้งในทุกระดับก็จะเกิดผล ได้ทั้งอำนาจและบุญคุณ
จึงเป็นข้อเสนอที่จะต้องขยายความต่อไป
และเป็นการบอกล่าวเพื่อแก้ไขความประมาท

ถ้า คุณอยากเป็นนักการเมืองที่มีคุณธรรม
ก็ต้องต่อสู้กับแนวคิดมิจฉาทิฐิทางการเมืองที่ยึดมั่นอยู่กับรัฐธรรมนูญอัน
เป็นเหตุแห่งความหายนะของชาติ
เราแนะนำการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุแห่งปัญหาด้วยปัญญาและสันติธรรม
ลองนำไปตรองดูอย่างแยบยลเถิด

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000067389

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น