++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โจ๋ใจบุญ มทร.ธัญบุรีโชว์เจ๋งคว้าแชมป์ผลิตเสียงสร้างสุขเพื่อคนตาบอด

ในโลกแห่งความืดมนของกลุ่มผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
"เสียง" คือ
ปัจจัยสำคัญในการรับรู้ที่ถูกถ่ายทอดเป็นความคิดในการดำรงชีวิตประจำวัน
โดยการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพนั้นจะเกิดขึ้นได้ดีก็ย่อมที่จะต้องมาจากความรู้
และสารประโยชน์ด้านต่าง ๆที่จะสามารถนำไปปรับใช้
ซึ่งก็เป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่กลุ่มผู้การทางสายตาในสังคมส่วนใหญ่ก็กลับ
ไม่สามารถเข้าถึงสื่อสาระประโยชน์ต่างๆที่จะนำพามาซึ่งสัพพความรู้ได้ทัด
เทียมกับบุคคลทั่วไป

จากข้อมูลทางสถิติจดทะเบียนของผู้พิการ ตั้งแต่ปี 2537 ถึง
เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ยอดรวมของผู้พิการทุกประเภทความพิการ มีจำนวนถึง
756,606 คน ตามข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพคนพิการแห่งชาติ
กลุ่มที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้
ต่างมีความต้องการในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองไม่น้อยไปกว่าบุคคลทั่วไปใน
สังคม

แต่ยังขาด "โอกาส" ในการเข้าถึงข้อมูล และความรู้ทางด้านสุขภาพที่มีน้อยอยู่

หนังสือเสียง
จึงนับเป็นหนึ่งสื่อเครื่องมือที่สามารถจะพัฒนาและยกระดับศักยภาพของผุ้
พิการทางสายตาให้มีความทัดเทียมได้ด้วยการศึกษาจากการฟัง
โดยหนังสือเสียงที่เรากำลังพูดถึงนี้
ในยุคนี้ได้ถูกจัดทำขึ้นให้เป็นระบบมาตรฐานสากล (ระบบเดซี่)
ในรูปแบบซีดีรอม โดยจะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล
และให้ความรู้ทางด้านสุขภาพได้อย่างง่ายดาย
สอดคล้องต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของกลุ่มดังกล่าว

แต่ทว่ากลับเป็นที่น่าเสียดายซ้ำขึ้นไปอีก
ที่การผลิตหนังสือเสียงในปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตโดยหน่วยงานที่เกี่ยว
ข้องกับคนพิการ กลับไม่สามารถผลิตได้ทันกับความต้องการและไม่ทันต่อข้อมูลความรู้ที่มีเพิ่ม
ขึ้นอย่างรวดเร็ว

ฉะนั้นจึงเป็นดัง
สัญญาณที่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมกำลังส่งต่อเพื่อขอความช่วยเหลือจากกลุ่ม
บุคคลที่มีจิตอาสายิ่งนักส่งผลให้หลายคนหันมาสนอกสนใจในหนังสือเสียงหลาย
หลายกิจกรรมหลากหลายรูปแบบที่โดยมากเน้นไปในการทำประโยชน์ต่อส่วนรวม

เฉกเช่นล่าสุด
การผลิตหนังสือเสียงก็ออกมาในรูปแบบของโครงการการประกวดผลิตหนังสือเสียง
ที่เน้นให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพ
เพื่อขยายกลุ่มผู้ผลิตหนังสือเสียงไปยัง กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา
ที่ใช้ความรู้ความสามารถในการทำประโยชน์ต่อสังคมสู่การมอบให้ผู้พิการทางสาย
ตาให้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่น่าใจใจ

สื่อทางเลือกที่เหล่าจิตอาสารุ่นเยาวชนนักศึกษาได้ผลิตนั้นเพิ่งจะ
เสร็จสิ้นการประกาศผลไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนาที่ผ่านมา กับโครงการ
การผลิตหนังสือเสียง "เสียงสร้างสุข" ที่จัดขึ้นโดย
สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ และ U Life magazine ณ อุทยานการเรียนรู้
ทีเคปาร์ค ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์

ท่ามกลางเสียงตอบรับที่ดีของเหล่านิสิตนักศึกษาที่ส่งผลงานกว่า 60
ชิ้นเข้าประกวด ผลการตัดสินรางวัลปรากฏว่ารางวัลชนะเลิศตกเป็นของ
ผลงานเรื่อง นิทานชาดก" จาก 3 นักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี"
ประกอบด้วย "นาย ชวิศ หินเงิน, นายอนันต์ สอมแพน และ "นางสาวสุดารัตน์
สุนทร" นักศึกษาชั้นปีที่ 3

ตามด้วยทีมรองชนะเลิศจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับผลงาน
"อารมณ์ดีจุดเริ่มต้นดีๆของชีวิต" จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ส่วนทีมรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีมความสุขของกะทิ
จากรั้วมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรีเช่นกัน

" ชวิศ หินเงิน" หนึ่งในทีมชนะเลิศ
เจ้าของผลงานหนังสือเสียงสร้างสุข "นิทานชาดก"
เล่าถึงแรงบันดาลใจที่หยิบเรื่องของนิทานชาดกมาผลิตหนังสือเสียงครั้งนี้ว่า
ต้องการจะให้ผู้พิการทางสายตาได้รับความรู้เรื่องราววัฒนธรรม
คติสอนใจต่างๆเพื่อให้ผู้ตาบอดได้รับรู้และซึมซับสิ่งดีๆที่จากสื่อของคน
ปกติทั่วไปได้รับกันโดยแบ่งวรรคตอนในการอ่านที่จะระมัดระวังเรื่องของภาษา
ไทยให้เป็นพิเศษ

" คนที่ไม่เข้าถึงสื่อปัจจุบันก็มีเด็กและผู้พิการทางสายตา
บวกกับสภาพสังคมปัจจุบันคนทั่วไปมักจะไม่ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของไทย
และดูดกลืนเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาเยอะ
ตรงนี้เราเลยคิดว่านิทานชาดกที่จัดเป็นสื่อที่ดีที่หายากคงมีคนหยิบยกมาให้
ผู้พิการทางสายตาน้อยลง
ซึ่งการนำเรื่องตรงนี้มาทำหนังสือเสียงนั้นพวกผมก็ไม่ได้คิดว่าจะคว้ารางวัล
แต่อย่างใด แต่เราอยากทำให้ผู้พิการได้ฟัง และซึมซับมากกว่า"

ท่ามกลางหลากหลายความภูมิใจของคนสร้างเสียง
แล้วเสียงนั้นก็นำพามาซึ่งสุขในมิติของผู้ให้และผู้รับหนึ่งในผลงานที่ได้
รับรางวัล มีการเผยแพร่ผลงานการเขียนที่น่าประทับใจที่มีทั้งหนังสือและภาพยนตร์อย่าง
เรื่อง "ความสุขของกะทิ"อีกด้วย

" วีรศักดิ์ จันแสง" หนึ่งในทีมที่ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3
หยิบผลงาน "ความสุขของกะทิ"มาทำเป็นหนังสือเสียงวีรศักดิ์บอกถึงเหตุผลที่หยิบหนังสือ
รางวัลซีไรท์ยอดนิยมมาเผยแพร่สู่ผู้พิการทางสายตาว่าตนเองปลื้มในความน่ารัก
ของเนื้อเรื่อง และหนังสือเรื่องนี้ก็โด่งดังเป็นที่รู้จักกันเยอะคาดว่าผู้พิการสายตาคง
อยากจะอ่านและทำความรู้จักกับมันเหมือนคนทั่วไป

" เนื้อเรื่องความสุขกะทิมันให้อะไรกับคนอ่านเยอะเหมือนกัน
สิ่งที่ผู้พิการทางสายตาเขาน่าจะได้
ก็น่าจะเป็นสิ่งเดียวกับเราเพื่อเพิ่มศักยภาพทางความคิดที่จะส่งผลไปต่อการ
ดำรงชีวิตของเขา ผมว่าคนที่ส่งหนังสือเสียงทุกคนคงไม่ได้คิดจะคว้ารางวัล
เพราะกลุ่มผมก็คิดเพียงว่าอยากทำบุญ
เราอ่านเองเราก็ได้เรียนรู้กับสารประโยชน์ของความรู้แถมยังได้ฝึกภาษา
เรียนรู้อักขระการออกเสียง และประโยชน์อีกต่อคือ
ผู้พิการทางสายตาก็จะได้รับรู้เนื้อหาของสิ่งที่เราแบ่งปันไปด้วย
สรุปคือตอนนี้ภูมิใจมากครับ"....


โครงการเวิร์คช้อป การผลิตหนังสือเสียง "เสียงสร้างสุข"
ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้น้องๆ
ที่สนใจเข้าร่วมแข่งขันการประกวดผลิตหนังสือเสียง ได้มีความรู้ความเข้าใจ
และเทคนิคพิเศษ พิชิตใจกรรมการ

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000069553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น