++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พรรคการเมืองใหม่

โดย ว.ร.ฤทธาคนี 4 มิถุนายน 2552 20:07 น.
ในที่สุดกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ก็แสดงศักยภาพประชาธิปไตยจากลำดับการพัฒนาแนวคิดทางการเมือง
ตามนัยประชาธิปไตยที่พัฒนาจากทฤษฎีของอริสโตตัล เรื่องรัฐศาสตร์
ซึ่งพูดถึงรัฐธรรมนูญว่า "เป็น หลักในการสถาปนาระบบ
และองค์กรที่ประกอบด้วยส่วนงานบริหารต่างๆ
ของรัฐอันมีความมุ่งมั่นที่จะสถาปนาแนวทางการบริหารของรัฐ
ที่ต้องสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับประชาคม"

และหลักการนี้พัฒนาผ่านช่วงเวลา ผ่านยุค ผ่านอำนาจอาณาจักรต่างๆ
แต่สิ่งที่มนุษย์ใฝ่ฝันหาคือ
อำนาจของปัจเจกบุคคลที่ต้องการทำตามที่ตนปรารถนา
ซึ่งต้องบัญญัติไว้เป็นกฎหมาย
แต่จะถึงขั้นนั้นต้องผ่านกระบวนการนิติบัญญัติที่เสียงข้างมากให้เป็นไปตาม
นั้นจึงสามารถใช้บังคับได้
ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับผู้ปกครองรัฐ
หรือผู้บริหารประเทศซึ่งมีที่มาจากการสืบทอดสันติวงศ์หรือการสถาปนาตัวเอง
หรือมีผู้อื่นยกฐานะให้เป็นผู้ปกครองหรือกษัตริย์ปกครองรัฐแม้ในยุค 1975
เมื่อนายพลฟรานซิสโก ฟรังโก
ออกกฎหมายสถาปนาระบอบกษัตริย์ขึ้นใหม่ให้กับสเปนในวันที่ 22 พฤศจิกายน
1975หลังจากที่ปกครองโดยเผด็จการทหารมา 30 ปี

อำนาจรัฐจึงเป็นกิเลสยั่วยุให้มนุษย์มีพฤติกรรมชั่วช้า
และมีการปกป้องอำนาจนั้นจึงเกิดระบอบทรราชขึ้นมากมายในประวัติศาสตร์
ของมนุษยชาติ เช่น จักรพรรดิเนโร (Nero) จอมหฤโหดแห่งโรมระหว่างปีที่
37-38 ก่อนคริสตกาลที่กดขี่ และฟุ้งเฟ้อ
ฆ่าผู้ต่อต้านและศัตรูอย่างทารุณโหดร้าย
ไม่เว้นแม้แต่ญาติของแม่หรือน้องชายบุญธรรม
รวมทั้งนั่งเป่าขลุ่ยอย่างสบายใจ ขณะที่ไฟไหม้กรุงโรมนานถึง 6 วัน 6 คืน
และนิยมจัดงานรื่นเริงแบบร่วมเพศหมู่ (Orgy)
แต่ก็ถูกปฏิวัติในเดือนมีนาคม 68 ปีก่อนคริสตกาล

เมื่อกองทัพกลับลำต่อต้านความหฤโหดของเนโร เพราะในช่วงแรกนั้น
กองทัพได้งบประมาณในการทำสงครามปล้นเมืองต่างๆ
และได้บำเหน็จสงครามทั้งที่เป็นทั้งอำนาจปกครอง
และการหาผลประโยชน์ในการเก็บภาษี แล้วแบ่งให้เนโร
ต่อมาจักรพรรดิเนโรต้องการมากขึ้นทหารจึงต่อต้าน
และฉากสุดท้ายของเนโรซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรพรรดิวงศ์
จูลิโอ-เคลาเดียน เมื่อจอมหฤโหดฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงแม่น้ำทิเบอร์
(Tiber) พร้อมกับพูดว่า "ข้าไม่มีทั้งเพื่อนและศัตรู"

จึงเห็นว่าคราใดที่เกิดระบอบทรราชขึ้น
ก็จะเกิดแรงต่อต้านเพื่อให้เกิดระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม
โดยร่วมกำหนดทิศทางในการดำรงชีพและรักษาผลประโยชน์เพื่อส่วนรวมและของบุคคล
ปัจจุบันในประเทศไทยมีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
รวมตัวกันต่อต้านระบอบทักษิณซึ่งมีนัยเป็นเผด็จการรัฐสภา
โดยผ่านระบอบธนาธิปไตยหรือทุนเป็นใหญ่

มีบทความเรื่องทุนทรราชหรือทุนสามานย์ 9 ประการ
เขียนโดยคุณทันพงศ์ รัศนานันท์ ผู้เขียนเรื่องลุงคำตัน เคยเป็นสหายป่า
และต่อต้านคนโกงให้นิยามไว้ เช่น
เป็นทุนนายหน้าขายบริการที่ไม่สร้างหรือก่อให้เกิดการผลิต
และการพัฒนาพลังการผลิตเพื่อสังคมใดๆ เป็นทุนไร้สัจจะ ตระบัดสัตย์
ขาดน้ำใสใจจริง และหลอกลวงประชาชนเป็นทุนที่ใช้เงินเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยสามานย์
ย่ำยีรัฐธรรมนูญเพื่อผลประโยชน์ตนเอง
เป็นกลุ่มคนที่ใช้เงินภาษีอากรสร้างความมั่งคั่งธุรกิจให้กับตนเอง
รวมทั้งการสร้างฐานการเมืองหลังจากได้อำนาจรัฐ
และสร้างนวัตกรรมการคอร์รัปชันเชิงนโยบายที่ยากแก่การตรวจสอบ เป็นต้น

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าจุดกำเนิดของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น
เป็นการต่อต้านความไม่ชอบธรรมของคนคนหนึ่งกับนักการเมืองกลุ่มหนึ่งซึ่งคุม
อำนาจเบ็ดเสร็จในอดีตพรรคไทยรักไทยซึ่งเต็มไปด้วยนายทุนที่ต่างแสวงอำนาจรัฐ
เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการบริหารธุรกิจของตนเองหรือพรรคพวก
แล้วผลประโยชน์แบ่งกัน

แต่คดีความทั้งหลายที่อดีตนักการเมืองในระบอบทักษิณก่อไว้กำลังเอา
ตัวรอดด้วยเล่ห์กลการเมืองแบบเก่า คือ
แปรพักตร์มาร่วมกับศูนย์อำนาจใหม่ด้วยการมอบพลังทางการเมืองของตัวเองให้
เพื่อจะได้มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกได้รับการเลือกจาก
ประชาชนซึ่งยังติดอยู่กับรูปแบบของการเมืองเก่าอยู่ เช่น กลุ่มนายเนวิน
ชิดชอบ ที่สร้างความแค้นลึกล้ำในจิตใจของทักษิณ
ชินวัตรเพราะการออกโทรทัศน์บอกให้ทักษิณยุติการทำร้ายประเทศและการล้วงเกิน
ในหลวง พร้อมทั้งนำกลุ่มเพื่อนเนวินมาสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

และนี่ก็เป็นจุดอันตรายของระบบการเมืองเก่า คือ
การต่อรองอำนาจรัฐเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง
หรือเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เช่น ขณะนี้ปัญหาการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี
4,000 คัน ใช้งบประมาณ 6,000 กว่าล้านบาท ของนายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ
รมช.คมนาคม ที่มีประเด็นปัญหาความคุ้มค่าหรือชี้แจงเฉพาะด้านสว่างเพียงอย่างเดียว
ทั้งๆ ที่รถแก๊สยูโรก็ขาดทุนอยู่ทุกวัน ขณะที่รถโดยสารเอ็นจีวีที่
รมช.คมนาคมคาดหวังจะสร้างกำไรนั้นริบหรี่
เพราะในขณะที่รถยังคงติดเหมือนเดิมและมากยิ่งขึ้น
แต่ประชาชนมีหนทางเลือกจากระบบขนส่งมวลชนที่ไม่ต้องทรมานเพราะรถติด เช่น
รถไฟฟ้าหรือรถใต้ดินที่จะต้องเกิดขึ้นในอนาคต
และเป็นคู่แข่งกับรถโดยสารแน่นอนในเวลา 10
ปีข้างหน้าอันเป็นเงื่อนไขการเช่ารถเอ็นจีวี

ประเด็นรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน
กำลังจุดชนวนระเบิดเวลาการเมืองระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคภูมิใจไทย
ที่มีการสถาปนาเพื่อรองรับพรรคมัชฌิมาธิปไตยซึ่งถูกพิพากษาให้ยุบพรรคเพราะ
ทุจริตเลือกตั้ง
โดยมีกลุ่มเพื่อนเนวินเข้าร่วมเป็นสมาชิกหลังจากที่กลุ่มแยกตัวจากพรรคพลัง
ประชาชนซึ่งถูกยุบเช่นกันในข้อหาเดียวกันและได้เปลี่ยนเป็นพรรคเพื่อไทยที่
เตรียมไว้แล้ว

นายเนวินได้นำพรรคพวกเข้าร่วมพรรคพลังประชาชนด้วยจนเกิดกรณีนายสมัคร
สุนทรเวช ต้องโทษและมีการเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่
แต่ต่อมาเพราะพลังประชาชนถูกยุบ หัวหน้าพรรคต้องโทษเว้นวรรคทางการเมือง
การเมืองเป็นสุญญากาศทำให้นายเนวินเห็นช่องอำนาจ
จะด้วยเพราะสถานการณ์ทางการเมืองเลวร้ายที่สุดในรอบทศวรรษ
หรือจะเป็นเพราะกองทัพสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
พรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้นายเนวิน ชิดชอบ นำ
ส.ส.ในอาณัติจำนวน 22 คนสังกัดพรรคภูมิใจไทย
สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์รวมทั้งนายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ
ส.ส.จังหวัดขอนแก่นด้วย

การต่อรองกำลังเริ่มขึ้นแล้ว และจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
พรรคประชาธิปัตย์จะยังคงเข้มแข็งยึดถือผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญอยู่หรือ
ไม่ หรือต้องการที่จะรับข้อต่อรองของพรรคภูมิใจไทยซึ่งมีความล่อแหลมมากที่จะแปร
พักตร์เข้าไปสู่อ้อมกอดของทักษิณ ภายใต้ พรรคเพื่อไทย
และสถานการณ์การเมืองก่อน 13 เมษายน 2552 ก็จะกลับไปเป็นเช่นเดิม
เพราะวาระการแก้รัฐธรรมนูญอย่างไร้ทิศทาง
และเหตุผลภายใต้การชี้นำของทักษิณ และพวกที่ต้องการปลดโซ่คดีของตัวเองออก

พรรคการเมืองตัวเลือกในอนาคตที่จะรักษาดุลอำนาจทางการเมืองให้ได้
จะต้องมีอุดมการณ์ เช่น
เมื่อเกิดกลุ่มการเมืองและพัฒนาเป็นพรรคการเมืองที่มีระบบ
และกฎเกณฑ์ข้อบังคับในสมัยของสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 1 ค.ศ.
1533-1603 มีขั้วอำนาจในการบริหารประเทศ 3 ลักษณะ พระราชอำนาจ
คณะองคมนตรี และรัฐสภา โดยมีนัยสำคัญคือ ปกครอง บัญญัติกฎหมาย
และตัดสินใจในเรื่องศาสนาและความมั่นคง รวมทั้งมีบันทึกไว้ว่าในยุคของ
ทูดอร์ (Tudor) นั้น การปกครองท้องถิ่น มีความสำคัญมาก

หลังจากอังกฤษผ่านสงครามกลางเมืองเพราะความโลภของพระเจ้าชาร์ลส์ที่
1 ที่เลือกดยุคแห่งบักกิงแฮมเป็นผู้รับผิดชอบทำสงคราม 30 ปี (ค.ศ.
1618-1648) จนประเทศล่มจม และพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1
ยุบสภาสองครั้งเพราะรัฐสภาพยายามที่จะถอดถอนดยุคแห่งบักกิงแฮม
ซึ่งต่อมาถูกลอบสังหารทำให้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ยุบสภาเป็นครั้งที่ 3
และทรงสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่ 11 ปี คนอังกฤษเรียกว่า 11
ปีแห่งยุคทรราช ทำให้โอลิเวอร์ ครอมเวล ก่อการปฏิวัติเป็นสงครามกลางเมือง
ค.ศ. 1640-49 ปีแห่งความล่มจม โศกนาฏกรรม และความโหดร้าย

จนใน ค.ศ. 1649 พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2
ขึ้นครองราชย์เพราะพระบิดาถูกกลุ่มครอมเวลตัดสินปลงพระชนม์ต่อมาฝ่ายราช
ภักดีชนะและเกิดพรรคการเมืองขึ้นสองพรรคคือ ทอรีส์ (Tories) กับวิกส์
(Whigs) พวกทอรีส์ยินดีที่มีกษัตริย์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ขณะที่พวกวิกส์ต้องการให้พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย
และพวกวิกส์มีแนวคิดเชิงเสรีนิยม และมีชัยในสภาใน ค.ศ. 1669
เป็นการปฏิวัติระบบกษัตริย์จนใน ค.ศ. 1760 พระเจ้าจอร์จที่ 3
ขึ้นครองราชย์เกิดพรรคเสรีนิยม (Liberal) และพรรคอนุรักษนิยม
(Conservatives)

และใน ค.ศ. 1900 จึงเกิดพรรคแรงงาน (Labour Party) ขึ้น
ซึ่งเป็นพรรคตรงข้ามกับพรรคอนุรักษนิยมเต็มตัว
แทนที่พรรคเสรีนิยมซึ่งกลายเป็นพรรคเล็กระหว่างสองพรรค
โดยมีพื้นฐานแนวคิดเชิงสังคมนิยมประชาธิปไตยลักษณะการต่อสู้เพื่อชนชั้นให้
มีฐานะทางสังคมทัดเทียมกัน หรือเป็นทางเลือกที่ 3
ที่มีแนวเพื่อสังคมฐานล่างซึ่งเป็นคนจน
ทั้งกรรมกรและชาวนาชาวไร่ให้อยู่ดีกินดีขึ้น

ประเทศไทยเรียนลัดทางการเมือง
และเป็นการเมืองผสมจนไม่รู้ว่าจะเอาแบบอย่างไหนกันแน่ว่าเหมาะสมที่สุด
เกิดเป็นแบบ "ไทย-ไทย" และ "ไทย-ฝรั่ง"
ซึ่งปัจจุบันคนไทยยังคงไขว่คว้าหนทางสวรรค์สู่ความผาสุกทางการเมือง

วิกฤตระบอบทักษิณทำให้เกิดแนวคิดทางเลือกใหม่ที่ต้องการปิดประตูไม่
ให้เกิดเผด็จการนักการเมือง และมีการต่อสู้นอกสภาและชนะ 3 ครั้ง
และด้วยอำนาจตุลาการภิวัฒน์ทำลายระบอบทักษิณ
ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมไม่ได้ถูกแทรกแซงด้วยอำนาจรัฐ
และเงินตราเพราะทุกเรื่องเกิดจริง

จากการต่อสู้นอกสภา
พรรคการเมืองใหม่จึงเกิดขึ้นด้วยความมุ่งมั่นที่จะชำระล้างคราบการเมืองเก่า
ให้หมดไป คือ เลือกทั้งคุณงามความดี ยึดมั่นในจริยธรรมและศีลธรรม
เลือกข้างสุจริต และมีความซื่อสัตย์
โดยเฉพาะต่อคำสาบานเมื่อเข้ารับตำแหน่ง
เลือกข้างที่เสียสละผลประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ของชาติ
ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงได้ถ้าข้างที่สังกัดอยู่ด้วยนั้นมีพฤติกรรมไร้ความชอบ
ธรรม เลือกข้างประชาชนให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนอย่าง
โปร่งใส

เลือกข้างที่มีระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมต่อสังคม
และผลประโยชน์ของชาติ ทั้งยังต้องคำนึงถึงธรรมชาติแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิตไทย ให้การศึกษาทั้งทฤษฎีและคุณธรรม
และสังคมการเมืองใหม่เป็นสังคมข้อมูลข่าวสารเพื่อการตัดสินใจ
โดยมีสื่อคุณภาพและสร้างสรรค์สังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

ความสำคัญของอุดมการณ์เหล่านี้ขึ้นอยู่กับว่า
พรรคการเมืองใหม่จะหาสมาชิกที่มีคุณลักษณะเพียบพร้อมเช่นนี้ได้อย่างไร
ค่าใช้จ่ายการบริหารพรรค
ค่าตอบแทนที่นอกเหนือจากที่รัฐได้จ่ายให้นักการเมืองที่ได้รับการเลือกเข้า
เป็น ส.ส.หรืออยู่ในตำแหน่งทางการเมืองจะหาได้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย

กฎ และระเบียบความเข้มข้นในเรื่องวินัย น้ำจิตน้ำใจ
จิตวิญญาณบริสุทธ์ที่อุทิศกายใจให้พรรคการเมืองใหม่
และระบอบการเมืองใหม่ของชาติเพื่อประชาชนมีดัชนีอะไรชี้วัด
เพราะตราบใดยังเป็นมนุษย์ก็ยังมีกิเลส
หรือมีพฤติกรรมสังคมตามทฤษฎีของมาสโลว์ (Maslow)
เพราะทุกคนอยากอยู่บนยอดพีระมิดทั้งสิ้น ยาป้องกันกิเลสคืออะไร


nidd.riddhagni@gmail.com

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000063097

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น