++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เที่ยวด้วยบำเพ็ญประโยชน์ด้วย นี่แหละกิจกรรมโดนใจสไตล์มข.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


"แม้ จะเป็นเพียงแค่ 15 วันในช่วงเวลาปิดเทอม
ที่พวกเราได้มีโอกาสลงพื้นที่
เพื่อปฏิบัติภารกิจสำคัญที่จะสร้างคุณประโยชน์ให้กับชุมชน
แต่ก็คิดว่าคุ้มที่ได้ใช้ไอเดียสร้างสรรค์จากมันสมองโดยไม่พึ่งพาอินเทอร์
เน็ตอย่างที่เราคุ้นเคย"


นี่คือเสียงสะท้อนของกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.)ที่เลือกใช้เวลาว่างในช่วงปิดเทอมลงพื้นที่ท่องเที่ยวไปกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ในชื่อโครงการที่เรียกว่า
"ท่องเที่ยวไทย สไตล์บำเพ็ญ Voluntourism"
หรือการเดินทางท่องเที่ยวแบบอาสาสมัคร โดยเจาะกลุ่มเฉพาะ "นักศึกษา"
กับการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการออกค่ายอาสา
แต่จุดที่แตกต่างกันก็คือจะไม่เน้นในทางการสร้างถาวรวัตถุ
แต่มุ่งให้อาศัยชุมชนเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้นอกห้องเรียน
ด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต
ทั้งนี้ ประเดิมก๊วนแรกโดยกลุ่มนักศึกษาชาวมข.ที่ปฏิบัติภารกิจลงพื้นที่ไปยังชุมชน
บ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องแห่งแรกจาก 4
ชุมชนที่ถูกคัดเลือกด้วยความเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมและพร้อมที่จะเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวโชว์ หัตถกรรมและผลิตภัณฑ์พื้นบ้านมากมาย เช่น
ผ้าลายครามผ้าทอที่เป็นธุรกิจส่งออกทั่วโลก
แต่ตอนนี้ชุมชนยังขาดความรู้ด้านการตลาด
แนวโน้มของแฟชั่นในการพัฒนาสินค้าและประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นให้เป็นแหล่งท่อง
เที่ยวที่คุ้นหู

และนั่นคือหน้าที่ของเหล่า Voluntourism ชาวมอดินแดง
ที่ขันอาสาบำเพ็ญประโยชน์กัน

อ.กษม อมันตกุล อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
อธิบายถึงภารกิจต่อชุมชนว่า ได้รับการประสานงานจาก
ททท.ในการที่จะให้นักศึกษาได้ท่องเที่ยวตัวจังหวัดสกลนครและนำความรู้มา
ประยุกต์ลงพัฒนาชุมชนบ้านถ้ำเต่าเพื่อพัฒนาสินค้าพื้นเมือง
โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัย
จากนั้นจึงเริ่มสู่ขั้นตอนของการทำงาน
เริ่มจากสำรวจพื้นที่นำกลับไปวางแผนและแบ่งกลุ่มๆ
จ่ายหน้าที่ตามความถนัดของนักศึกษา
โดยกลุ่มศิลปกรรมศาสตร์คือทำหน้าที่สร้างแบรนด์สินค้า
กลุ่มคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ออกแบบอุตสาหกรรมทำหน้าที่รูปแบบของโครงสร้างสื่อ
วัตถุ และกลุ่มคณะจิตรกรรมทำหน้าที่ออกแบบลายเครื่องใช้และหัตถกรรมเสื้อผ้า
โดยไอเดียทั้งหมดยืนพื้นมาจากวัฒนธรรมของหมู่บ้าน
"ผ้า ย้อมครามเป็นภูมิปัญญาที่น่าสนใจและเป็นสินค้าที่น่าสนับสนุน
ผมมองว่า นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ได้ทั้งผู้ให้ผู้รับ
ชาวบ้านได้สื่อสิ่งพิมพ์เทคนิคต่างๆในการนำเสนอสินค้าผ่านการดึงเอาวัฒนธรรม
มา มาทำให้ความเข้มแข็งของแบรนด์เหล่านี้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้
อย่างกลุ่มที่ผมดูก็จะทำหลักๆ เลยคือโลโก้ที่ใช้ชื่อว่า
ใต้ตำหนักเป็นชื่อเก่าที่เรานำมาใช้
ซึ่งชาวบ้านบอกว่าเป็นชื่อที่เขาใช้เรียกผ้าย้อมครามกันตั้งแต่ได้
ตำแหน่งโอท็อป5 ดาวที่อยู่ใต้ตำหนักภูพาน เราเลยนำตัวนี้มาคิดรูปแบบโลโก้
และนำมออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์รวมไปถึงโปสการ์ด หัวกระดาษเขียนจดหมายและอื่นๆ
ซึ่งนักศึกษาก็จะได้รับการเรียนรู้จริงๆ ออกมาเป็นไอเดียต่างๆ"
อาจารย์กษมชี้แจงถึงแต่ละหน้าที่

ทั้งนี้ ไฮไลต์หลักของการลงพื้นที่ชุมชนนอกจากจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แบรนด์
สินค้าด้วยโลโก้ที่เป็นตัวตนของสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้ว
อีกหนึ่งความคิดสร้างสรรค์ที่นำมาเพิ่มเป็นความหลากหลายคือ
การคิดลวดลายผ้าแบบร่วมสมัยให้กับ ผ้า
ทอของบ้านถ้ำเต่าจากเดิมมีด้วยกันอยู่ 3 ลาย ประกอบด้วยลายหมักจับ
ลายคลองตัด และนาคต้นสน โดยลายใหม่ที่เพิ่มขึ้นมามี 5 ลาย ประกอบด้วย
ลายออนซอนถ้ำเต่า สะออนมอดินแดง ดวงดอกมันปลา เงาพระธาตุทอง
และกระหย่องบวงสรวง

ด้าน "อาจารย์ชวนะพล น่วมสวัสดิ์" อาจารย์
ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าลายผ้าที่คิดออกมานั้นมีวิธีการคิดเหมือนการคิดผ้าแบบ
ดั้งเดิมคือหยิบจับวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม
ความเป็นตัวตนของบ้านถ้ำเต่ามาลงในลวดลายผ้าเพิ่มเติมตรงความร่วมสมัยเพื่อ
เปิดตลาดใหม่
" เราเปิดโอกาสให้นักศึกษาคิดโดยต้องศึกษาว่าชาวบ้านเขามีวิถีชีวิตกันยังไง
ก็ซัพพอร์ทมาจากแหล่งข้อมูล ที่จะได้จากการสังเกต
อย่างมีลายผ้าลายหนึ่งก็จะเป็นลายศิลปะในวันพระธาตุเชิงชุมอันเป็นวัดประจำ
จังหวัดสกลนคร หรือ ลวดลายเต่าก็มาจากบ้านถ้ำเต่าก็เอาลายเต่าเลย
และย้อมครามสีเบาบางลงหน่อยด้วย
ไม่ใช้ครามเข้มนักเพื่อความร่วมสมัย"อาจารย์ชวนะพลอธิบาย

ส่วนระหว่างการปฏิบัติงานของนักศึกษาก็เต็มไปด้วยรสชาติของความเป็นชนบทแบบที่ต่างก็ไม่เคยสัมผัสกันมาก่อน

"โบ"- อุภาพร ศรีสร้อย นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ เอกจิตรกรรม บอกว่า
มีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำประโยชน์ให้กับหมู่บ้าน
แม้การทำงานจะลำบากจากเหตุไม่มีน้ำไฟใช้อยู่หลายครั้ง
แต่ก็ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี " จริงๆ ลำบากแต่ชาวบ้านก็อยู่กันได้
แถมยังได้โอกาสนี้ออกไอเดียสร้างสรรค์ แบบไม่มีพึ่งกูเกิ้ลเลย
ต้องลงเรียนรู้ด้วยตัวเอง ลำบากขึ้น
แต่มันก็จะทำให้เรารู้และเข้าใจดีมากกว่า
โดยข้อมูลที่ได้มาเพื่อที่จะมาทำสื่อสิ่งพิมพ์ และอื่นๆ
ก็ได้จากการสังเกต การสอบถาม สัมภาษณ์เอาล้วน
ๆเรียนรู้จากของจริงและทำจริง
โดยเราก็ได้การดูแลที่ดีเป็นสิ่งตอบแทนด้วย"

เสร็จสิ้นการดำเนินงาน 15
วัน....ในที่สุดก็ถึงวันส่งมอบแนวคิดท่ามกลางการรอคอยของชุมชน "สมคิด
พรหมจักร" ผู้ใหญ่บ้านถ้ำเต่า
บอกเล่าความรู้สึกที่เต็มไปด้วยความดีใจจนถึงกับกลั้นน้ำตาไม่อยู่ว่า
หมู่บ้านต้องการความเข้มแข็งทางการตลาดมานาน เพราะ
ชุมชนมีของดีแต่ขาดการจัดการที่ดี
หลังได้รับการสนับสนุนจากรัฐก็ทำให้ช่วยชาวบ้านอ้าปากท้องได้แต่ก็กลับซบเซา
อีกครั้ง อยากให้ชุมชนโตด้วยตนเองด้วยแนวคิดใหม่ๆ ที่ดี

"เห็น ความลำบากแล้วก็ไม่อยากให้ชาวบ้านลำบากอีก
เคยลำบากกันถึงกับต้องขอข้าวบ้านอื่นกิน
พอหันมาหยิบเอาวัฒนธรรมผ้าทอเป็นจุดขายเราก็ดีขึ้นมา บูมจนถึงมี 10
บริษัทต่างชาติมารับออเดอร์ ตอนนั้นได้ โอท็อป 5 ดาวด้วย ทำเงิน 12
ล้านต่อปี แต่ต่อมาเหมือนความช่วยเหลือก็ไม่ได้ต่อเนื่อง
ลูกค้าหายไปพร้อมๆ กับคู่แข่งเพิ่มขึ้น ยอดขายเหลือเพียงปีละ 3 ล้านกว่า
ตกค่าเฉลี่ยชาวบ้านหัวละ 6,500 เหลือกินกันเพียงเดือนละ 1,200 บาท
รู้สึกดีใจที่เด็กๆ
เข้ามาช่วยทำให้ชาวโลกรู้ว่าบ้านถ้ำเต่าอยู่จุดไหนของโลกมีของดีอะไร
สร้างความเข้มแข็งให้สินค้าของชุมชนโดยงบประมาณสานต่อคือมี 1
%จากเงินที่เรามีอยู่จากผลกำไรที่ได้มามาทำตรงนี้ส่วนจะยืดได้ยาวแค่ไหน
อันนี้เรายังไม่รู้ ตอนนี้มองว่าอยากลดต้นทุน และตั้งเป้าเอา 15 ล้าน"

ขณะที่อนาคตของธุรกิจชุมชมกำลังจะเป็นไปได้สวย สมใจ
แต่อย่างไรก็ตามหนึ่งในคำบอกเล่าของ"เอก- วรรณนิกร มวลสุข"
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ร่วมบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน
และได้มีโอกาสสัมผัสวัฒนธรรมได้ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า
ชุมชนมีวัฒนธรรมที่น่าสนใจหลายวัฒนธรรม
และสมควรที่จะอนุรักษ์รวมทั้งสืบทอดเอาไว้
ส่วนเรื่องการพัฒนาธุรกิจและพัฒนาหมู่บ้านนั้น
โดยส่วนตัวแล้วอยากให้เป็นไปในครรลองที่เหมาะสม
อย่าให้สูญเสียประเพณีที่ดีงามไป "ชุมชน มีอายุมากว่า 97 ปี
เรียนรู้มาว่ามีหลากหลายประเพณี อย่างการนับถือผีฟ้า ผีพญาแถน ปอบเปรต
พิธีเย้า ซึ่งหาดูและศึกษาได้ยาก ดังนั้น
คนในชุมชนเองจึงต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้ ยกตัวอย่างเช่น
เป็นไปได้ไหมที่คนในชุมชนจะสวมเสื้อผ้าที่ตัวเองทอขึ้นมากับมือบ้าง
ไม่ใช่ทอเอาไว้ขายอย่างเดียว"เอกฝากแง่คิดเอาไว้อย่างโดนใจใครหลายคน...

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000061615

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น