++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เด็กซ้ำชั้นเศร้า หนีซบเอกชน-เรียนไม่จบ สพฐ.ปรับแนวปฏิบัติใหม่ปีหน้า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์



คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
"กษมา" ห่วงนักเรียนซ้ำชั้นกว่า 400 คน มีปัญหาจิตใจ เศร้า
หาทางลาออกเรียนเอกชน ออกกลางคัน เรียนไม่จบ
เตรียมปรับแนวปฏิบัติการเรียนซ้ำชั้นในหลักสูตรใหม่ พ.ศ.2551
เริ่มใช้ในปีการศึกษา 2553 กำชับผู้บริหารครู ช่วยเด็กเรียนอ่อน ติด
0,ร,มส.ติวพิเศษ ให้ซ่อมเสริมเสร็จภายในปีการศึกษานั้น หากเด็กไม่ผ่าน
7-8 วิชา สั่งตกซ้ำชั้นได้ แนะพ่อแม่ใส่ใจดูแลลูกใกล้ชิน
แก้รายวิชาไม่ครบไม่ได้ใบรับรองการจบการศึกษา
ผลวิจัยต่างประเทศชี้เรียนซ้ำชั้นไม่ได้ทำให้การเรียนพัฒนาขึ้น
แถมเด็กรู้สึกด้อยค่า ไม่รักตัวเอง ยากในการปรับตัว

วันที่ 7 มิถุนายน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงข้อเสนอของ
ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
ผู้อำนวยการสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
หรือ สมศ. ให้เด็กตกซ้ำชั้น นั้น ไม่ใช่ข้อเสนอใหม่ เราใช้มาตั้งแต่ปี
2548 แล้ว เพียงแต่ใช้ในกรณีที่เด็กสอบตกหลายวิชาและมีเกรดเฉลี่ยไม่ถึง 1
จะให้เรียนซ้ำชั้น
เมื่อเรียนซ้ำชั้นจะให้ยกเลิกผลการเรียนเดิมแล้วมาใช้ผลการเรียนใหม่
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเราพบว่ามีเด็กที่เรียนซ้ำชั้นจะมีอาการเศร้ามาก
โดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษา
เด็กบางรายลาออกจากโรงเรียนเพื่อไปเรียนโรงเรียนเอกชน
นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กเรียนไม่จบ ออกกลางคัน
ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้องไปตามนักเรียน เพื่อกลับมาเรียน
หรือนักเรียนบางรายไปจบโรงเรียนทางเลือก และ กศน.

ทั้งนี้ มีผลการวิจัย "ตกซ้ำชั้น" ของต่างประเทศ
ในแง่ของผลสัมฤทธิ์ไม่ได้ดีขึ้น เพราะปัญหาไม่ได้ถูกแก้ไข
ไม่ได้มีมาตรการอื่นมาช่วย เช่น ติวพิเศษ สอนเสริมนอกเวลาเรียน
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาด้วยว่าเด็กที่เรียนซ้ำชั้นกับเด็กเรียนอ่อน
แล้วได้รับการเลื่อนชั้นนั้น เด็กเรียนอ่อนมีผลการเรียนดีกว่า

" การตกซ้ำชั้นมีผลกระทบต่อความรู้สึกของนักเรียน
มักจะมองว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ไม่รักตัวเอง มีปัญหาการปรับตัว
สิ่งเหล่านี้เราไม่ต้องการให้เกิดกับนักเรียน
ส่วนการบริหารจัดการหากมีการตกซ้ำชั้นจำนวนมากจะมีปัญหาด้านการบริหารจัดการ
สูญเสียทรัพยากร"

คุณหญิงกษมา กล่าวว่า ปัจจุบันเรามีเด็กตกซ้ำชั้นประมาณ 400 คน
ซึ่งเราจะติดตามช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด
อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้กำชับผู้บริหารสถานศึกษา ครู
ดูแลนักเรียนที่มีผลการเรียนอ่อน ติด 0,ร, มส. อย่างใกล้ชิด
โดยให้เด็กมาแก้ไขเป็นรายวิชาและแก้ให้แล้วเสร็จภายในปีการศึกษานั้น
แต่ถ้าเด็กสอบไม่ผ่าน 7-8 รายวิชาและมีเกรดไม่ถึง 1
สามารถสั่งให้ตกซ้ำชั้นได้

คุณหญิงกษมา กล่าวด้วยว่า ดังนั้น
จึงเตรียมจะปรับแก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเรียนซ้ำชั้นของนักเรียนในหลัก
สูตร พ.ศ.2551 ที่กำลังจะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2553 นี้
โดยให้สถานศึกษาพิจารณาหรือตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้มีการเรียนซ้ำชั้นได้ใน
กรณีที่ผู้เรียนไม่สามารถพัฒนาและเรียนซ่อมเสริมเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องได้
หรือไม่ผ่านรายวิชาจำนวนมากและมีแนวโน้มเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นที่
สูงขึ้น ทั้งนี้ให้คำนึงถึงวุฒิภาวะและความรู้ความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญพร้อม
กันนี้จะกำหนดให้การเรียนซ่อมเสริมวิชาที่ผ่าน
ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นในภาคเรียนถัดไปส่วนภาคเรียนที่ 2
ต้องแก้ไขให้เสร็จสิ้นก่อนเปิดปีการศึกษาใหม่
หากโรงเรียนจัดการเรียนซ่อมเสริมช่วงปิดภาคเรียนไม่ได้
สพท.จะเข้าไปดูแลแทน

"ครู ผู้บริหาร ต้องติดตามเด็กที่ติด 0,ร, มส. อย่างใกล้ชิด
ถ้าวิชาไหนไม่ผ่านก็ให้แก้รายวิชานั้น แต่ต้องมีขบวนการช่วยเหลือเด็ก
สอนหลังเลิกเรียน หรือติวพิเศษ วิชาที่แก้ไม่ผ่านก็ไม่ต้องผ่าน
หากเด็กสอบไม่ผ่าน 7-8 รายวิชา เกรดเฉลี่ยไม่ถึง 1 ให้ตกซ้ำชั้นได้
ไม่ใช่ไม่ผ่านวิชาเดียวให้ตกซ้ำชั้น"

คุณหญิงกษมา ฝากถึงผู้ปกครองให้เฝ้าระวังติดตามดูว่าลูกติด 0,ร,
มส. หรือไม่ เราพบว่าปีนี้มีเด็กบางคนสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ แต่ติด 0
จึงเสียสิทธิการเข้าศึกษาต่อ โดยผู้ปกครองไม่รู้ว่าลูกตัวเองยังติดอยู่
พร้อมกันนี้ฝากไปยังโรงเรียนจัดตารางสอนให้ยืดหยุ่น
เพื่อให้เด็กเรียนซ้ำในรายวิชาที่มีปัญหา
ส่วนเด็กเองก็ต้องขวนขวายและผู้ปกครองต้องดึงเด็กมาเรียนซ้ำวิชา
ไม่เช่นนั้นเด็กจะเสียประโยชน์ ทั้งนี้
จะหาตัวอย่างโรงเรียนที่ทำเรื่องนี้ได้ดี หาโรงเรียนที่มีปัญหา จริงๆ
เรามีรายชื่อโรงเรียนอยู่แล้ว จะมาเสนอต่อที่ประชุม กพฐ.

ด้านนางศุจีภรณ์ อู่ทองทรัพย์
หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
กล่าวถึงผลวิจัยของต่างประเทศเกี่ยวกับการเรียนซ้ำชั้นว่า
หลายประเทศพบว่าการเรียนซ้ำชั้นไม่ได้ส่งผลให้การเรียนสูงขึ้น
บางครั้งจะสูงขึ้นเฉพาะปีที่ซ้ำชั้นเท่านั้น
แต่ในภาพรวมจะยังคงมีปัญหาเหมือนเดิม
เพราะปัญหาไม่ถูกแก้ไขแต่การที่จะเรียนดีขึ้นได้นั้นต้องมีการติวให้พิเศษ
หรือจัดสอนเสริมนอกเวลาเรียน ทั้งนี้
ยังพบว่าเด็กในหลายประเทศที่เรียนซ้ำชั้นจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า
ไม่รักตัวเอง ยากในการปรับตัว
และหากมีจำนวนมากก็จะเป็นปัญหาของโรงเรียนในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อดูแล

นาง ศุจีภรณ์กล่าวว่า สำหรับนักเรียนที่เรียนซ้ำชั้นในประเทศไทย
จำนวนประมาณ 400 คนนั้น อยู่ระหว่างการติดตามข้อมูลผลการเรียน
ซึ่งบางส่วนก็ยังมีผลการเรียนเกาะกลุ่ม ไม่ได้พัฒนาขึ้นแต่อย่างใด

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000063909

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น