++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วิกฤตเชื้อแบคทีเรียดื้อยาพุ่งสูง หมอหวั่นอนาคตหมดทางรักษา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    


   
       กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เตือนอันตรายวิกฤตเชื้อดื้อยา เผยแบคทีเรีย 4 ชนิด ดื้อยาสูงขึ้นทำให้รักษายาก ชนืดที่ไม่มียาตัวไหนรักษาได้ เชื้อบางตัวดื้อยาสูงกว่า 1,000% ในรอบ 10 ปี แพทย์โรคติดเชื้อห่วงอนาคตไม่มียารักษา ไม่ว่ายาดีหรือแพง
      
       นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สถานการณ์เชื้อโรคดื้อยาในประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤต โดยพบว่า ขณะนี้เชื้อแบคทีเรียหลายชนิดดื้อยาแบบหลายตัว (MDR – multidrug resistance) และบางตัวดื้อยาทุกชนิด ทำให้ปัจจุบัน พบ โรคติดเชื้อที่รักษาไม่ได้ เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ ข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวัง เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า มีเชื้อแบคทีเรีย 4 ชนิด ที่มีการดื้อยาสูงขึ้น ทำให้ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด คือ 1.เชื้อ Acinetobacter baumannii ซึ่งเป็นเชื้อฉวยโอกาสที่มีสาเหตุมาจากโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับการทำหัตถการด้วยการนำอุปกรณ์ทางการแพทย์เข้าไป ในร่างกายแล้วการติดเชื้อที่ผิวหนัง
      
       “ใน ช่วงระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่ปี 2541-2551 เชื้อแบคทีเรีย Acinetobacter baumannii พบอัตราการดื้อยา Cabapenem ซึ่งเป็นกลุ่มของยาปฏิชีวนะที่มีคุณภาพสูง เพิ่มขึ้นจาก 2.1% เป็น 57.8% นอกจากนี้ จากการเก็บข้อมูลจากโรงพยาบาลต่างๆในเครือข่าย ยังพบว่า เริ่มมีการดื้อยาหลายชนิดพร้อมกันเพิ่มขึ้น ทำให้ยากต่อการรักษา”อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว
      
       นพ.มานิต กล่าวต่อว่า 2.เชื้อ Pseudomonas aeruginosa ซึ่งเป็นเชื้อฉวยโอกาส ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งระบบทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ และระบบไหลเวียนโลหิต พบอัตราการดื้อยาอยู่ในระดับ 10-12% 3.เชื้อ Streptococcus pneumoniae ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า ในบรรดาโรคติดเชื้อทั้งหมด เชื้อนี้เป็นสาเหตุ การตายอันดับ 1 ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ และยังพบข้อมูลที่น่าตกใจ ว่า ยา เพนนิซิลิน และ อีริโธมัยซิน ที่เคยใช้เป็นยารักษาโรคนี้ได้ผล เริ่มใช้ได้ผลน้อยลง เนื่องจากเชื้อพัฒนาตนเองให้ดื้อยามากขึ้น
      
       นพ.มานิต กล่าวอีกว่า ในปี 2541 พบว่า มีการดื้อยาเพนนิซิลิน 47% โดยเพิ่มเป็น 61% ในปี 2550 และดื้อยา อิริโธมัยซิน จาก 27% ในปี 2541 เป็น 54% ในปี 2550 และล่าสุด พบว่า การพัฒนายาใหม่เพื่อใช้แทนยาเพนนิซิลิน และ อีริโธมัยซิน ที่ไม่พบการดื้อยามาตั้งแต่ปี 2544 ขณะนี้พบว่า เริ่มมีการดื้อยาชนิดใหม่มากขึ้น 4.เชื้อกลุ่ม Enterobateria เช่น เชื้อ E.coli ที่พบในเสมหะ พบว่ามีการสร้างเอนไซม์ที่ทำให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มที่สามารถฆ่า เชื้อได้ครอบคลุมหลายชนิด เพิ่มขึ้นจาก 19% ในปี 2542 เป็น 52% ในปี 2548
      
       “การ ดื้อยาของเชื้อโรคทำให้อัตราป่วยและตายสูงขึ้น ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น และอาจจะไม่หายจากโรค เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของผู้ป่วยและรพ. และหากไม่มีการแก้ไขปัญหาที่ดีพอ จะทำให้เกิดโรคติดเชื้อที่รักษาไม่ได้ มากขึ้นเรื่อยๆ”นพ.มานิต กล่าว
      
       ด้าน ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี สาขา วิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า สถานการณ์การดื้อยาของเชื้อทั้งแบคทีเรียและไวรัสทั่วโลกอยู่ในภาวะวิกฤต การพัฒนายาต้านจุลชีพที่ได้ผลดีมาก มีความปลอดภัยสูงกำลังพัฒนาไม่ทันการปรับตัวของเชื้อโรค ข้อมูลล่าสุด พบว่า เชื้อโรคบางชนิดดื้อยาที่ดีและราคาแพงทุกตัว คือ ไม่มียาตัวไหนในโลกที่สามารถฆ่าเชื้อได้เลย ทำให้แพทย์ส่วนหนึ่งจำเป็นต้องหันกลับไปใช้ยาแบบเก่าๆ เช่น เพนนิซิลิน, แอมพิซิลิน, เตตร้าที่ไซคลิน, แบคทริม ที่แม้จะรู้ว่ามีความเสี่ยง และมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยสูง แต่ก็จำเป็นเพราะยาใหม่ๆ ไม่สามารถควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อได้ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างอันตราย มาก

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000046656

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น