++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ชาวอีสานจงระวัง!! ชิคุนกุนยากำลังจะมาเยือน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


กรม ควบคุมโรคหวั่นชิคุนกุนยาระบาดริมโขง เฝ้าระวังเข้ม ชี้
จังหวัดทางภาคอีสานมีสวนยางเสี่ยงระบาดมากสุด
ระบุยุงลายกัดคนเป็นชิคุนกุนยาแพร่ในพื้นที่
ประสานมหาวิทยาลัยเฝ้าระวังช่วงเปิดเทอม บริเวณมหาวิทยาลัย หอพัก
เร่งสกัดกั้นการแพร่เชื้อ ยัน สปสช.ควรตั้งงบกลางป้องกันการระบาดใหญ่
"หมอวินัย" แนะให้ สธ.เสนอเข้าบอร์ดพิจารณา

นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า
แนวโน้มการระบาดของโรคชิคุนกุนยาขณะนี้ยังน่าเป็นห่วงเพราะมีการระบาดต่อ
เนื่องในพื้นที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกันระหว่างภาคใต้ตอนล่างและภาคใต้ตอนบน
อย่างรวดเร็วจากจังหวัดหนึ่งไปยังจังหวัดหนึ่งในเวลาไม่เกิน 1 เดือน
เนื่องจากไม่สามารถจำกัดคนไม่ให้มีการเดินทางได้ ดังนั้น
จึงพบผู้ป่วยในภาค กลาง เหนือตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งเกือบทุกรายเดินทางมาจากภาคใต้ซึ่งหากผู้ป่วยถูกยุงลายในพื้นที่กัด
อาจจะเกิดการถ่ายทอดเชื้อ ไปยังคนอื่นๆ
ในชุมชนได้ง่ายโดยเฉพาะในฤดูฝนที่มียุงลายชุกชุม ดังนั้น คาดว่า
สถานการณ์การระบาดจะรุนแรงยิ่งขึ้น


"ในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ที่มีสวนยาง
ซึ่งต้องควบคุมพื้นที่มีการระบาดอย่างเข้มแข็ง
โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำโขง
เนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งน้ำมีความชื้นอาจเกิดการแพร่ระบาดได้ง่าย
ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยาที่อย่างมากจ.หนองคายมาแล้ว
อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่พบว่ามีการระบาดในพื้นที่ภาคอีสาน" นพ.มล สมชาย
กล่าว

นพ.มล สมชาย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้
ได้ประสานไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ
ซึ่งกำลังเปิดภาคการศึกษาใหม่เพื่อเฝ้าระวังและคัดกรองนักศึกษาที่จะเดินทาง
มาจากพื้นที่ที่มีการระบาดและดำเนินการสกัดกั้นการแพร่เชื้อในทันทีโดยเน้น
การป้องกันไม่ให้ยุงกัดผู้ป่วยและลดจำนวนปริมาณลูกน้ำยุงลายและ
เขตมหาวิทยาลัยและหอพัก

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า ส่วน
เรื่องงบประมาณในการดำเนินการปราบลูกน้ำลุงลายโรคชิคุนกุนยา
ที่ขณะนี้ไม่เพียงพอในการรับมือการระบาดของโรค
แม้ว่าแต่ละจังหวังจะมีงบประมาณส่งเสริมและป้องกันโรคของ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) อยู่แล้ว
แต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้
เนื่องจากการระบาดของโรคนั้นไม่ได้ระบาดเฉพาะพื้นที่แต่เป็นการระบาดที่พื้น
ทีมีความต่อเนื่องกัน จึงมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณจากส่วนกลางอยู่ดี
ซึ่งหากเกิดการระบาดใหญ่หากไม่มีงบจากส่วนกลางก็จะทำให้การคสบคุมดูแลไม่ได้
ผล ดังนั้น ควรจะเสนอให้สปสช.ตั้งงบกลางเพื่อป้องกันและควบคุมโรคในภาวะฉุกเฉิน
100-200 ล้านบาท

ด้านนพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า
หากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
จะเสนอให้มีการตั้งงบประมาณกลางสำรองในกรณีเกิดโรคระบาดฉุกเฉินก็สามารถ
ดำเนินการได้โดยต้องนำเสนอเข้าพิจารณาในคณะกรรมการบริการหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) โดยจะสามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2553 ส่วนใน
ปีนี้ สธ.ไม่ได้วางแผนในการเตรียมงบประมาณกลางในการควบคุมโรค
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ สปสช.ได้กระจายงบประมาณ
การส่งเสริมสุขภาพและการควบคุมป้องกันโรคประมาณ 1
พันล้านบาทไปยังจังหวัดต่างๆ แล้ว แต่ไม่ได้กำหนดว่านำไปใช้ในโรคใดบ้าง
โดยได้กำชับไปยังเขตพื้นที่ต่างๆ ให้นำงบประมาณส่วนนี้มาใช้ได้ทันที

"ก่อนหน้านี้ ที่ นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข
จะให้สปสช.ซื้อยากันยุงป้องกันโรคชิคุนกุนยาที่กำลังแพร่ระบาดในพื้นที่ภาค
ใต้นั้น ได้พูดคุยทำความเข้าใจเรียบร้อยแล้วว่า คงไม่สามารถดำเนินการได้
เนื่องจากสปสช.ได้กระจายงบประมาณในการส่งเสริมป้องกันโรคไปยังจังหวัดต่างๆ
ทั่วประเทศเป็นงวดๆ รวมทั้ง 4 งวด ซึ่งงวดที่ 4
จะไปถึงช่วงปลายเดือนมิถุนายน ดังนั้น จังหวัดต่างๆ
ขณะนี้ถือว่ามีเงินอยู่แล้วไม่ใช่ไม่มี ทั้งนี้
สามารถปรับแผนการใช้งบประมาณได้ตามความเหมาะสม" นพ.วินัย กล่าว


http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000063454

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น